Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/976
Title: | Legal Guidelines or Legal Measures to Enhance the Efficiency of Civil Disputes Mediation of the District Administration Offices in Phayao Province แนวทางหรือมาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา |
Authors: | Nichakarn Kantaphayao ณิชกานต์ กันทะพะเยา Wimonrekha Sirichairawan วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ University of Phayao Wimonrekha Sirichairawan วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ wimonrekha.si@up.ac.th wimonrekha.si@up.ac.th |
Keywords: | การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางแพ่ง มาตรการทางกฎหมาย ที่ทำการปกครองอำเภอ Mediation Civil Dispute Legal Measures District Administration Offices |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This article aims to investigate the reality of administrative jurisdiction disputes in various districts
of Phayao Province. The study explores relevant theories, legal principles, and regulations concerning
the resolution of administrative jurisdiction disputes in districts, as outlined in the Royal Decree on Local Administration B.E.2534 and the Criteria and Procedures for Administrative Jurisdiction Disputes and Settlement B.E. 2553, along with its amendments. The objective is to identify suitable legal measures or strategies to enhance and streamline the administrative jurisdiction dispute resolution process in the districts of Phayao Province through qualitative research.
The findings indicate a minimal number of administrative jurisdiction disputes in the districts of Phayao Province. This low occurrence can be attributed to the excessive procedural requirements outlined in the regulations concerning administrative jurisdiction disputes and settlements. The stipulation of specific qualifications for disputing parties has also led to a decrease in the credibility of those involved. People in Phayao Province still do not see the benefits of the civil dispute mediation process of the district administrative office, which is better than the dispute resolution process by other methods. Additionally, the work on civil dispute mediation at the district administrative office is still less driven. Therefore, guidelines or legal measures to develop the civil dispute mediation process of the district administrative office must be the development of laws related to the mediation of civil disputes at district administrative offices by amending the Ministerial Regulations on Mediation and Conciliation of Civil Disputes B.E. 2553 and additional amendments. Reducing some steps in the civil dispute mediation process will allow the mediation to end the dispute quickly. Modifying some qualifications of mediators to increase the credibility of mediators. Furthermore, support the operations regarding civil dispute mediation of the district administrative office. บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ศึกษาแนวคิดทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของอำเภอ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อค้นหาแนวทางหรือมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงกระบวนการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยทำการศึกษา ค้นคว้าวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา มีจำนวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งน้อย อันเนื่องมาจากกฎกระทรวงว่าด้วย การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดขั้นตอนของการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของอำเภอไว้มากเกินความจำเป็น การกำหนดคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ย บางประการส่งผลทำให้ความน่าเชื่อถือของผู้ไกล่เกลี่ยลดน้อยลงและประชาชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ยังไม่เห็นถึงประโยชน์ของกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอที่ดีกว่า กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นนอกจากนี้ การขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง ของที่ทำการปกครองอำเภอยังคงมีการขับเคลื่อนน้อยดังนั้น แนวทางหรือมาตรการทางกฎหมายเพื่อพัฒนา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอ ควรมีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอ โดยแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาททางแพ่งพ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อลดขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางแพ่งบางขั้นตอนให้น้อยลงซึ่งจะทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยุติได้เร็ว รวมถึงแก้ไขคุณสมบัติบางประการ ของผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้ไกล่เกลี่ย และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางแพ่งของที่ทำการปกครองอำเภอให้มากขึ้น |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/976 |
Appears in Collections: | School of Law |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63033195.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.