Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/802
Title: The Learning Outcome of Integrating Phenomenon-Based and ATLAS Technique for Empowering Scientific Process Skillsof Matthayomsuksa 4 Students
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLASเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Waralee Choeiban
วราลี เชยบาล
Narissara Suaklay
นริศรา เสือคล้าย
University of Phayao
Narissara Suaklay
นริศรา เสือคล้าย
meaw2626@gmail.com
meaw2626@gmail.com
Keywords: ปรากฏการณ์เป็นฐาน, เทคนิค ATLAS, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Phenomenon-Based ATLAS Technique Scientific Process Skills
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this study were: 1) to construct learning management plan by using phenomenon-based and ATLAS technique for developing scientific process skills of Matthayomsuksa 4 students; 2) to compare scientific process skills of students before and after deployment of phenomenon-based and ATLAS technique; and 3) to examine students’ satisfaction towards learning management using phenomenon-based and ATLAS technique. The samples were 40 Matthayomsuksa 4 students from Municipality 6 School. The research instruments were: 1) learning management using phenomenon-based and ATLAST technique for empowering scientific process skills; 2) achievement test assessing scientific process skills of Matthayomsuksa 4 students; and 3) questionnaire examining students’ satisfaction towards the learning management plan using phenomenon-based and ATLAS technique for empowering scientific process skills of Matthayomsuksa 4 students. The data were analyzed for mean and standard deviation. The results revealed that: 1) The outcome of constructing learning management plan using phenomenon-based and ATLAS technique and ATLAS technique for empowering scientific process skills of Matthayomsuksa 4 students, in overall, showed the highest suitability. The individual aspects analysis showed suitability in all aspects except that of the learning activity using ATLAS technique showed the high suitability. The aspect showing the highest mean were learning standards/indicators and learning outcome, followed by learning objectives, assessment and evaluation respectively. 2) The comparison of students’ scientific process skills before and after deployment of learning management using phenomenon-based and ATLAS technique showed that the learning achievement scores after the implementation was higher than those of the before-implementation at the significance level of .01 in which the post-test mean was 26.04 or 86.81% while the pre-test mean was 9.63 or 26.04% which indicated the progress scores at 16.41 or 54.71%. 3) The students’ satisfaction towards the learning management using phenomenon-based and ATLAS technique for empowering scientific process skills of Matthayomsuksa 4 students, in overall, was rated at the highest. The individual aspects analysis showed that content was rated at the highest mean, followed by instructional management and learners respectively.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมมากที่สุด ยกเว้นด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS มีความเหมาะสมมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดและด้านผลการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ และด้านการวัดผลประเมินผล ตามลำดับ 2)  ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS พบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 26.04 คิดเป็นร้อยละ 86.81 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 9.63 คิดเป็นร้อยละ 26.04 และมีคะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 16.41 คิดเป็นร้อยละ 54.71 3)   ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเนื้อหา รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านผู้เรียน ตามลำดับ
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/802
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61170881.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.