Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/801
Title: The Effect of Flipped Classroom with Cooperative Learning for Learning Achievement on Immune System of Matthayomsuksa 5 Student
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Teerissara Ponglangka
ธีริศรา ปงลังกา
Wannakorn Phornprasert
วรรณากร พรประเสริฐ
University of Phayao
Wannakorn Phornprasert
วรรณากร พรประเสริฐ
praewphornprasert@gmail.com
praewphornprasert@gmail.com
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ระบบภูมิคุ้มกัน
Flipped Classroom Cooperative Learning Learning Achievement Immune System
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to compare the learning achievement, group working and student’ satisfaction toward learning about in Immune System in Biology subject using flipped classroom with cooperative learning. The samples were 38 Matthayomsuksa 5 students of 2022 at Chiangsaen Wittayakom School were selected using cluster random sampling. The research instruments used in this study were lesson plans using flipped classroom with cooperative learning, learning achievement test, group working observation form and questionnaire satisfaction. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test as the dependent sample and Growth score. The findings revealed that the students’ average learning achievement after using flipped classroom and cooperative learning showed higher than before 12.18 and 21.26, respectively, at significance at .05. And found Bloom’s taxonomy, 4 - learning behaviors after using flipped classroom with cooperative learning were all higher and growth score were in high level, group working and students’ satisfaction after learning with flipped classroom with cooperative learning was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และความพึงพอใจในการเรียนชีววิทยา เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตกระบวนการกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t-test) แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Sample) และคะแนนพัฒนาการ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 12.18 และ 21.26 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของบลูม 4 ขั้น ทุกพฤติกรรมมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง มีกระบวนการกลุ่มและความพึงพอใจในการเรียนชีววิทยา เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/801
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61170568.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.