Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/738
Title: Behavioral Predicting Factors for Coronavirus 2019 Disease Prevention of University of Phayao Staff
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา
Authors: Apisit Sriraksa
อภิสิทธิ์ ศรีรักษา
somkid Juwa
สมคิด จูหว้า
University of Phayao
somkid Juwa
สมคิด จูหว้า
somkid.ju@up.ac.th
somkid.ju@up.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา
Disease-preventive Behavior Coronavirus Diseases 2019 University of Phayao staff
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: University personel work closely with many students. Their inappropriate disease prevention behaviors may cause outbreak of COVID-19.This descriptive research aimed to investigate behavioral predicting factors for COVID-19 prevention among Phayao University staff. Subjects were 353 University of Phayao staff. Data were collected by using questionnaire. Statisttics used for analyzing data were descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and inferencial statistics; correlation coefficient and multiple regression. The findings indicated that most of subjects were academic staffs (50.7%), female (62.3%), aged 30-39 year (51.8%), earned salary 20,000-39999 baht a month (58.1%), got married (60.9%), finished bacherlor degree (32%), no medical condition (88.4%), get health information from social media (93.5%) and involved with risk person (50.1%). The average score of health literacy in both separated and total were at high level. Factors predicted Coronavirus 2019 disease preventive behaviors were self-management skill, media literacy decision skill and access skill. The results revealed that University of Phayao ought to develop health literacy program for enhancing Coronavirus 2019 disease preventive behaviors.
บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับนิสิตจำนวนมาก หากพฤติกรรมการป้องโรค ไม่เหมาะสมจะส่งเสริมทำให้เกิดการระบาดของโรคในสถาศึกษา ดังนั้นการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยากลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยาจำนวน 353 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าแฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสายวิชาการ (ร้อยละ 50.7) เพศหญิง (ร้อยละ 62.3) อายุอยู่ระหว่าง 30–39 ปี (ร้อยละ 51.8) เงินเดือนเฉลี่ยระหว่าง 20,000–39,999 บาท (ร้อยละ 58.1) สถานภาพสมรสมีคู่ (ร้อยละ 60.9) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 32) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 88.4) ได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพผ่านสื่อสังคม (ร้อยละ93.5) เกี่ยวข้องกับบุคคลในพื้นที่เสี่ยง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ร้อยละ 50.1) ความฉลาดทางสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ความฉลาดทางสุขภาพด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อ และสารสนเทศทางสุขภาพ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติทางสุขภาพและด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยาควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพซึ่งจะช่วยพัฒนาพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ถูกต้องต่อไป
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/738
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60058100.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.