Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/737
Title: Factors Associated with the Preventive Health Behaviors for Streptococcus Suis Infection in Phayao Province
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับ จังหวัดพะเยา
Authors: Suthasinee Pradechboon
สุธาสินี ประเดชบุญ
Somchai Jadsri
สมชาย จาดศรี
University of Phayao
Somchai Jadsri
สมชาย จาดศรี
somchai.ja@up.ac.th
somchai.ja@up.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับ, โรคไข้หูดับ, โรคติดเชื้อ Streptococcus suis
Prevention behaviors of Streptococcus suis Infection Streptococcus suis infection
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The cross-sectional study aims to study the factors that correlate with the prevention behaviors of Streptococcus suis Infection in Phayao province. The sample of 334 was convenience sampled and asked for completing questionnaires through Google Forms. The data was analyzed by descriptive statistics and the relationships between factors were analyzed by Pearson correlation and a stepwise multiple linear regression. The results showed that the sample had moderate knowledge about Streptococcus suis infection, low level of attitude of consuming raw red meat and high level of practical prevention of Streptococcus suis infection. Disease prevention behavior was negative correlation with attitude of consuming raw red meat (r = -.562, p < 0.001), positive correlation with Receiving news or Information channels by television and knowledge (r = .229, r = .249 respectively, p < 0.001). These three factors could predict disease prevention behavior as 33.80%. Therefore, relevant agencies should focus on raising public awareness to have the right attitude of raw red meat safe eating. In particular, the consumption of raw blood pork and raw pork components. The relevant authorities should disseminate academic knowledge about the disease. Symptoms, severity of the disease, and health effects that affect long-term quality of life, behaviors that increase the risk of infection and proper prevention and destruction. Communication channels about Streptococcus suis infection should be done continuously. Through television, where the public has access to information and put it into practice.
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 334 คน และสุ่มตัวอย่างตามสะดวกโดยใช้แบบสอบถามผ่าน Google Forms วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคไข้หูดับระดับปานกลาง มีความเชื่อและทัศนคติต่อการบริโภคอาหารดิบทางลบระดับต่ำ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับ ได้แก่ ความเชื่อและทัศนคติต่อการบริโภคอาหารดิบ ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรค หรือประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้หูดับผ่านโทรทัศน์ และความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคไข้หูดับ และปัจจัยทั้งสามนี้สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันไข้หูดับของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 33.8 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = -.562, r = .229, r = .249 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยความเชื่อและทัศนคติต่อการบริโภคอาหารดิบมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ผกผันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หูดับ นั่นหมายถึง หากบุคคลมีความเชื่อและทัศนคติในทางที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันไข้หูดับลดลง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการบริโภคอาหารดิบ การบริโภคเนื้อหมูเลือดดิบและส่วนประกอบจากหมูแบบดิบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับโรค อาการแสดง ความรุนแรงของโรค และผลกระทบต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและการปฏิบัติตัวในการป้องกันที่เหมาะสม และการทำลายเชื้อที่ถูกวิธี ควรใช้โทรทัศน์เป็นช่องทางในการสื่อสารเรื่องไข้หูดับและทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนเข้าถึงข้อมูลและนำไปปฏิบัติได้
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/737
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60058076.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.