Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/681
Title: THE KING'S PHILOSOPHY IN LITERARY WORKS IN THE REIGN OF KING BHUMIBOL ADULYADEJ: THE STUDY OF CONCEPT, PRESENTATION TECHNIQUE AND VALUE
“ศาสตร์พระราชา” ที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร:การศึกษาแนวคิด กลวิธีนำเสนอและคุณค่า
Authors: Ubonwan Siathong
อุบลวรรณ สายทอง
Watcharin Kaenchan
วัชรินทร์ แก่นจันทร์
University of Phayao
Watcharin Kaenchan
วัชรินทร์ แก่นจันทร์
vajarindra.ka@up.ac.th
vajarindra.ka@up.ac.th
Keywords: ศาสตร์พระราชา
รัชกาลที่ 9
วรรณกรรม
แนวคิด
กลวิธีนำเสนอ
คุณค่า
King’s Philosophy
King RAMA 9
Literature
Concept
Presentation Strategies
Value
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The aims of this current research were to 1) study the King’s Philosophy 2) study presentation strategies of the King’s Philosophy and the use of imagery 3) study the values of the King’s Philosophy portrayed in the literature written during the reign of King Rama IX. The data was drawn from 9 excellent award winning novels namely, The Great Field, Red Bamboo, Mr. Lee and Miss Ma, His Name is Kan, A Child of the Northeast, There is still pleasure in this place, That woman is Boonrod, The Throne Made of Leaves, and Bang-Ka-Pong. Descriptive analysis statistics was used in analyzing the data. The results revealed that the study of the King’s Philosophy appeared in the Literature written during the Reign of king Rama IX including 3 categories: 1) Soil management concept that deals with improving the condition of acid soil and sandy soil so that it can be used in agriculture, 2) Water management concept that aims at solving the water shortage problem by digging a pond in the middle of the village as well as a well to lessen the degree of water shortage issue, and 3) Forest management concept, the purpose of which is to solve the problem of illegal wood cutting as well as slash and burn area in order to grow poppies. The management is inclusive of utilization of forest resources by incubating everybody the local forest conservation awareness and the worthwhile utilizing of the forest. Regarding the study of the presentation strategies of the King’s Philosophy and the art of using imagery in the literature written during the reign of King Rama IX, it was found that 1) the study of the presentation strategies of the King’s philosophy includes 4 techniques namely, 1.1) the presentation strategies used in presenting the King’s philosophy regarding the management of soil resources, water resources and forest resources via setting, 1.2) the presentation strategies used in presenting the King’s philosophy regarding the management of soil resources, water resources and forest resources via characters, 1.3) the presentation strategies used in presenting the King’s philosophy regarding the management of soil resources, water resources and forest resources via conversation and 1.4) the presentation strategies used in presenting the King’s philosophy regarding the management of soil resources, water resources and forest resources via description. 2) The presentation strategies of the King’s Philosophy by the use of imagery indicated the use of 5 types of imagery: 2.1) hearing 2.2) sight 2.3) smelling 2.4) taste and 2.5) touch. The study of the values of the King’s Philosophy portrayed in the literature written during the reign of King Rama IX showed that there were 10 aspects of value namely, 1) effort 2) mindfulness 3) generosity (4) self-civic duty 5) natural awareness 6) patriotism 7) art and culture preservation 8) sustainability 9) persistence and 10) fostering social justice. The 9 novels not only reflected the King’s Philosophy of King Rama IX on the management of soil resources, water resources and forest resources, but also presented the portrayal of the philosophy and the art of using imagery via setting, characters, conversation and description appropriately. Additionally, they portrayed the various types of values which will allow the readers to apply the insights into their lives regarding the royal idea of the late King Rama IX.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชา 2) ศึกษากลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาและศิลปะการใช้ภาษาด้านจินตภาพ 3) ศึกษาคุณค่าศาสตร์พระราชา ที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผู้วิจัยศึกษาจากนวนิยายที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ ทุ่งมหาราช ไผ่แดง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา เขาชื่อกานต์ ลูกอีสาน แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์ ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด บุษบกใบไม้ และบางกะโพ้ง โดยเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาแนวคิดศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แบ่งแนวคิดออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารทรัพยากรดิน โดยการบริหารทรัพยากรดินจากสภาพปัญหาดินเปรี้ยว ดินปนทราย ให้กลายเป็นดินที่สมบูรณ์สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ 2) ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ จากสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำโดยการขุดสระน้ำกลางหมู่บ้านและการขุดบ่อน้ำเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ 3) ด้านการบริหารทรัพยากรป่าไม้ จากสภาพปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงการเผาทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรและการปลูกฝิ่น ได้มีการบริหารทรัพยากรป่าไม้เพื่อการใช้ประโยชน์ โดยการปลูกฝังให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างคุ้มค่า การศึกษากลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พบว่า 1) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาผ่านองค์ประกอบของเรื่อง มี 4 กลวิธี ได้แก่ 1.1) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านฉาก 1.2) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านตัวละคร 1.3) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านบทสนทนา และ 1.4) กลวิธีนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ผ่านการบรรยาย 2) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดศาสตร์พระราชาผ่านการใช้ภาษาเพื่อสร้างจินตภาพ มี 5 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านการได้ยิน 2.2) ด้านการมองเห็น 2.3) ด้านการได้กลิ่น 2.4) ด้านการรับรส และ 2.5) ด้านการสัมผัสการศึกษาคุณค่าศาสตร์พระราชาที่ปรากฏในวรรณกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พบว่ามีคุณค่า 10 ประเภท ได้แก่ 1) คุณค่าด้านความเพียร 2) คุณค่าด้านความมีสติ 3) คุณค่าด้านการเกื้อกูล 4) คุณค่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ของตน 5) คุณค่าด้านการรักธรรมชาติ 6) คุณค่าด้านรักแผ่นดิน 7) คุณค่าด้านรักศิลปวัฒนธรรม 8) คุณค่าด้านการกินอยู่อย่างพอมีพอกิน 9) คุณค่าด้านมีความบากบั่นวิริยะอดทน 10) คุณค่าด้านการปลูกจิตสำนึกความเป็นธรรมในสังคม นวนิยายทั้ง 9 เรื่อง ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์พระราชาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งแนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ อีกทั้งสอดแทรกกลวิธีการนำเสนอแนวคิดและศิลปะการใช้ภาษาด้านจินตภาพผ่านฉาก ตัวละคร บทสนทนา และการบรรยายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/681
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61410811.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.