Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/660
Title: | Measures to support the credibility of electronic evidence in the justice process มาตรการสนับสนุนความน่าเชื่อถือข้อมูลพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการยุติธรรม |
Authors: | Kittisak Thumsen กิตติศักดิ์ ทุมเสน Pairush Teerachaimahit ไพรัช ธีระชัยมหิทธิ์ University of Phayao Pairush Teerachaimahit ไพรัช ธีระชัยมหิทธิ์ pairush.te@up.ac.th pairush.te@up.ac.th |
Keywords: | ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, มาตรการสนับสนุนความน่าเชื่อถือ,พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์, กฎหมาย electronic data electronic transactions credibility supporting measures electronic evidence law |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Today the society is increasingly using information technology, leading the changing in transactions from paper documents to electronic documents. The process of data transmission via electronic networks, the creating or storing documents in the form of files therefore are very important because electronic evidence is different from general evidence, it is highly fragile, easily changed and without a trace. Thus it is necessary to make the said evidence reliable and can be used in court. The study found that the problem is Thai law still has loopholes. And various processes specified by law have not yet complied with international standards causing unreliability. Therefore Thailand should have control measures to be in line with international standards whether the admissibility of electronic evidence in the judicial process, the procedure for processing the information before electronic evidence court hearing including the operation data of the computer processing system that has recorded or stored electronic data which give credibility to the characteristics or methods used to create or methods of storage or methods that use electronic communication to determine the accuracy and no change in text. Therefore, in establishing the credibility of the electronic documents used as evidence in court should create the criteria for authenticating electronic evidence in criminal cases by using the amendment of the Computer Crimes Act (No.2) B.E. 2560 in order to create standards for examining such electronic documents in the prosecution process both of the state and private sector to be a model for guaranteeing justice that the litigants will receive equally. When considering to the hearing of electronic documents as evidence in court. Should create the clear guidelines in the Computer Crimes Act B.E. 2560 as for authenticating electronic evidence in the justice processes in term of verify the existence, validity, accessibility and acquisition of electronic data with the same standard. The Court of Justice should provide the court section and trained judges with in-depth knowledge of computer and electronic systems to achieve fairness in the judicial proceedings as well as being a guarantee for the litigants in the judge's discretion. สังคมปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกรรม จากเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษกลายเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การสร้าง หรือการจัดเก็บเอกสารในรูปการจัดเก็บบันทึกของไฟล์ จึงมีความสำคัญมาก เนื่องจากพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์มีความแตกต่างจากพยานหลักฐานทั่วไป เพราะมีความเปราะบางสูง แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และไร้ร่องรอย จึงจำเป็นต้องทำให้พยานหลักฐานดังกล่าวนั้นน่าเชื่อถือและสามารถนำมาใช้ได้ในชั้นศาลเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบปัญหาคือ กฎหมายไทยยังมีช่องโหว่ และกระบวนการต่างๆที่กฎหมายได้กำหนดยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีมาตรการควบคุมให้เป็นทิศทางเดียวกันกับสากล ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลก่อนที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงข้อมูลการทำงานของระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำการบันทึกหรือจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง หรือวิธีการเก็บรักษา หรือวิธีการที่ใช้ข้อมูลสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุถึงความถูกต้องแท้จริงและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ดังนั้น ในการสร้างความน่าเชื่อถือ ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับรองความถูกต้องของพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการตรวจสอบพยานหลักฐานนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินคดีโดยรัฐหรือเอกชน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการรับประกันถึงความยุติธรรมที่คู่ความจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ควรกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ในส่วนการรับรองความถูกต้องแท้จริงของพยานอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของพยานหลักฐานจะต้องรับรองความมีอยู่ ความถูกต้อง การเข้าถึง และการได้มาของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวิธีและกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจัดให้มีผู้พิพากษาที่มีความรู้ในเชิงลึกในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านการอบรม เพื่อช่วยให้พิจารณาก่อให้เกิดความเป็นธรรม สะดวกรวดเร็วอีกทั้งเป็นหลักประกันต่อคู่ความในการใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยของผู้พิพากษาและให้ศาลยุติธรรมกำหนดให้มีแผนกที่เกี่ยวข้องในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์แสะระบบอิเล็กทรอนิกส์ |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/660 |
Appears in Collections: | School of Law |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60033529.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.