Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/582
Title: Factors associated with preventive behavior towards Coronavirus disease 2019 (COVID-19) among village health volunteers at Ta sub-district, KhunTan district, Chiangrai province
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลต้า อำเภอขุนตาล  จังหวัดเชียงราย 
Authors: Pheerachat Chaekhachat
พีรฉัตย์ แจขจัด
Taweewun Srisookkum
ทวีวรรณ ศรีสุขคำ
University of Phayao. School of Medicine
Keywords: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
พฤติกรรมการป้องกัน
Coronavirus disease 2019
Village Health Volunteer
Preventive behavior
Issue Date:  30
Publisher: University of Phayao
Abstract: This cross-sectional research aimed to 1) explore personal characteristics, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, cues to action, health literacy and preventive behavior towards Coronavirus disease 2019 and 2) investigate relationships between personal characteristics, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, cues to action, health literacy and preventive behavior towards Coronavirus disease 2019 among Village Health Volunteers at Ta sub-district, Khun Tan district, Chiang Rai province. One hundred and seventy-nine VHVs were selected by using stratified random sampling, and collected data between November 1, 2021 – December 30, 2021 at Ta sub-district, Khun Tan district, Chiang Rai province. Instrument was questionnaire which construed by literature review and researcher. Data were analyzed by Fisher’s exact test and Spearman’s rank correlation coefficient. The results revealed that VHVs 81.0% of samples were female, the average age was 53.1 years old, the average monthly income was 4,088.27 baht, 49.7% of samples were graduated high school, and 71.5% of samples earn living by agricultural. Most of the sample groups had the perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, cues to action, health literacy and preventive behavior of Coronavirus disease 2019 were high level (77.1%, 95.0%, 75.4%, 62.0%, 88.2%, 86.0% and 96.6%). The factors associated to preventive behavior among Village Health Volunteers (VHVs) at p-value <0.01 as following: cues to action, health literacy, perceived severity and perceived susceptibility, which promoted with preventive behavior among Village Health Volunteers (VHVs). Whereas income was negative relation with preventive behavior of Coronavirus disease 2019.  The results from this study the government should provide increased payment for the VHVs and this research should be used to plan for the prevention of Coronavirus disease 2019, including established measure and set up intervention among VHVs in the area study.
การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ ความรอบรู้ ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 179 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2564 ในพื้นที่ ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติ Fisher’s exact test และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.0 มีอายุเฉลี่ย 53.1 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,088.27 บาท จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 49.7 และมีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 71.5 กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 71.1, 95.0, 75.4, 62.0, 88.2, 86.0 และ 96.6 ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่รายได้ต่อเดือนมีผลทางลบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากผลลัพธ์นี้ ภาครัฐควรเพิ่มค่าตอบแทนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และควรนำผลวิจัยนี้ไปวางแผนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน รวมถึงพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ศึกษา
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/582
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62055637.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.