Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/578
Title: Effects of ambient particulate matter and hospital admissions for cardiovascular and respiratory diseases in Lampang province
ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในบรรยากาศกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ในจังหวัดลำปาง
Authors: Patsanun Lawongyer
พัสน์นันท์ ละวงค์เยอ
Patipat Vongruang
ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง
University of Phayao. School of Medicine
Keywords: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคระบบทางเดินหายใจ
การเข้ารับการรักษา
ลำปาง
PM10
Cardiovascular disease
Respiratory disease
Hospital admissions
Lampang
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: PM10 levels frequently exceeded the air quality standard in Lampang province. Corresponds found PM10 and the high number of hospital admissions for cardiovascular and respiratory diseases. This study aims to investigate the correlation health risks between PM10 concentration change and hospital admissions for cardiovascular and respiratory diseases. Used calculate of the air quality and meteorology with and a number of hospital admissions. Analyze use Poisson time-series regression model for the study period in 2014-2017. Results show that PM10 increases were associated with hospital admissions for cardiovascular and respiratory diseases. They demonstrated a significant positive impact for respiratory disease in a 1–4-day period, especially on the same days (lag 0) with high risk. Every 10 µg/m3 increase in the daily mean of PM10 was associated with increases in respiratory disease at 3.8% (95% CI: 3.0-4.6). Therefore, we recommend to people limit PM10 exposure will be helping to reduce cardiovascular and respiratory diseases. These results were the basis for health management and health policy in the future.
ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เกินค่ามาตรฐานอยู่บ่อยครั้งในจังหวัดลำปาง และ PM10 มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจจำนวนมาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์และ ความเสี่ยงสุขภาพเมื่อความเข้มข้นของ PM10 เปลี่ยนแปลงกับจำนวนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจในจังหวัดลำปาง โดยใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศ และอุตุนิยมวิทยา กับข้อมูลการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ใช้แบบจำลอง การถดถอยปัวซองตามอนุกรมเวลา ศึกษาในปี พ.ศ. 2557-2560 ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของ PM10 มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โดยผลกระทบปรากฏชัดเจนในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงระยะเวลา 1 ถึง 4 วัน โดยเฉพาะในวันเดียวกัน (lag 0) ที่พบความเสี่ยงสูง โดยทุก ๆ การเพิ่มขึ้นของ PM10 10 µg/m3 จะทำให้มีความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึง 3.8% (95% CI: 3.0-4.6) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้ประชาชนลดการสัมผัสกับ PM10 ซึ่งจะช่วยลด ความเสี่ยงของการเข้ารับการรักษาในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้เป็นตัวชี้วัดพื้นฐานในการจัดการด้านสุขภาพ และใช้ในการวางนโยบายด้านสุขภาพในอนาคต
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/578
Appears in Collections:School of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60058021.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.