Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/480
Title: THE STUDY OF ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS INCHIANGRAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3  
การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Authors: Kannika Weerawong
กรรณิการ์ วีระวงค์
Watchara Jatuporn
วัชระ จตุพร
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา
Academic leadership
Leadership of the School Administrators
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aimed to study the academic leadership of the school administrators. Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3 And to compare the academic leadership of the school administrators Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3 according to the opinions of administrators and teachers classified by sex. Highest qualification Performance status And working experience The samples used in this research were education institution administrators and teachers in educational institutes. Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3, Academic Year 2020, totaling 438 people, separated into 103 school administrators and 335 teachers in educational institutes By the sampling method stratified by distric. The research instruments were divided into 2 parts, part 1: General information of respondents and part 2, Academic Leadership of School Administrators. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. The statistics used to test the hypothesis were T-test, and a double difference test with the Scheffe method.  The results of the study showed that 1) the academic leadership of the school administrators. Under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3, the overall level was at a high level. When considering each aspect, it was found that all aspects had opinions at a high level. Where the side with the highest mean is The development of an environment that supports learning, followed by teaching and learning management and promoting the school's learning environment. And the side with the lowest mean is In the supervision and use of feedback in the teaching and learning process 2) A comparison of the academic leadership levels of the school administrators Under the Office of Chiang Rai Primary Education Service Area 3 found that the administrators and teachers with sex Highest qualification Performance status And working experience is different. There were statistically significant differences in opinions about academic leadership among school administrators at the .05 level.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด สถานภาพการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ในทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 438 คน แยกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน และครูในสถานศึกษา จำนวน 335 คน ด้วยวิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามอำเภอ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา  โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t-test และความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยการทดสอบรายคู่ตามวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe) ผลการศึกษาพบว่า  1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของโรงเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการกำกับติดตามและการใช้ข้อมูลย้อนกลับในกระบวนการเรียนการสอน  2) การเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีเพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด สถานภาพการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/480
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62170017.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.