Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/367
Title: Outcome-based model of supervision for improving teaching process in private bilingual kindergarten schools
รูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการสอนของครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา
Authors: Priyasuda Hetrakul
ปริยสุดา เหตระกูล
Sakchai Nirunthawee
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
University of Phayao. College of Management
Keywords: รูปแบบการนิเทศ
การนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน
เด็กปฐมวัย
โรงเรียนเอกชนสองภาษา
Supervision model
outcome-based supervision
early childhood
private bilingual kindergarten schools
Issue Date:  11
Publisher: University of Phayao
Abstract:               Objectives of this study were to 1) develop an outcome-based supervision model for private bilingual kindergarten schools 2) evaluate the implementation of outcome-based supervision model for private bilingual kindergarten schools. Qualitative study was performed to create the Model 1. Synthesis the supervision model from literature review using content analysis 2. Appropriateness of the model by experts using focus group method and evaluation the developed model using supervision form and implementation form. We performed trial of the supervision model in selective sampling of private bilingual school, Palina Tiwanon Kindergarten in Nonthaburi Province.              The results of this study were as follows: 1. Outcome-based supervision model which had 7 steps 1) Create mutual understanding between supervisors and teachers 2) Defining expected output 3) Planning supervision 4) Performing supervision 5) Activity assessment 6) Sharing results 7) Outcome.  Expected output defined as teachers are capable of using suitable teaching materials and instructional methods to young children. 2. Teachers rated that the model could be appropriately used.
             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน ในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา 2) ประเมินรูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน ในโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ประกอบด้วยขั้นตอนในการสร้างรูปแบบ คือ 1. วิเคราะห์เอกสาร (Content analysis) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศ 2. การสัมมนาเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Focus group) และขั้นตอนการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการนิเทศ และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่จะนำไปใช้ สถานที่สำหรับการทดลองเลือกโดยเจาะจงจากโรงเรียนที่ยินดีให้ความร่วมมือ และเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแบบสองภาษา คือ โรงเรียนอนุบาลปาลินา ติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี              ผลการศึกษา 1. รูปแบบการนิเทศแบบใช้ผลลัพธ์เป็นฐานที่ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อทำการปรับปรุงตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแล้ว ได้ขั้นตอนการนิเทศเป็น 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ 2) ผลลัพธ์ที่ต้องการ 3) การวางแผนการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ 6) การเสนอผลงานเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน 7) ผลลัพธ์ที่ได้จริง โดยมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการคือครูสามารถเลือกและใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมในการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย และ 2. ผลประเมินการใช้รูปแบบโดยการสอบถามความเห็นครู พบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/367
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162253.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.