Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/313
Title: The Effectiveness of ' The Moderate Class, More Knowledge Policy ' Implementation : A case study on School in Muang Phayao District, Phayao Province
ประสิทธิผลการนำนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาโรงเรียนเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 
Authors: Jittreeporn Booncharoen
จิตรตรีพร บุญเจริญ
Veera Lertsomporn
วีระ เลิศสมพร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, ประสิทธิผล, โรงเรียนเขตอำเภอเมืองพะเยา
The Moderate Class More Knowledge Policy Effectiveness School in Muang Phayao District
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aims to study the effectiveness of The Moderate Class More Knowledge Policy Increased in schools in Muang Phayao District, Phayao Province, and to study obstacles that affect the effectiveness of the implementation of the school time reduction policy. Add time to know. This research is a combination of quantitative and qualitative research. How to research semi-structured questionnaire responses and interviews from stakeholders and have a policy of reducing class time. Increased time to know is 30 executives, 167 teachers, 353 students and 140 parents, including 690 students. According to the results of the study, the effectiveness of The Moderate Class More Knowledge Policy Increased in schools in Muang Phayao District, Phayao Province. The average is 3.55 with a standard deviation of 0.64. The policy is planned and formulated to provide teachers with training on knowledge and understanding of the policy in order to design teaching activities in accordance with the school curriculum and the goals of the policy. It emphasizes that students can learn according to their aptitudes and interests appropriately in the context of the school. Students can participate in activities based on their own interests and aptitudes. It can practice the skills needed to work with others. And parents allow students to participate in activities that the school has implemented. Although the details of the policy are unknown, they are ready to encourage students to do activities according to their preferences. In addition, the results of studies on problems and obstacles that affect the effectiveness of implementing a policy to reduce school hours Increased time to know to practice are 1. The budget from the government that is not enough for the implementation of the policy 2. Coordination from external agencies 3. The number of teachers is less than the learners 4. The time of organizing activities that Each activity takes time differently. 5. Media, materials Insufficient equipment for the number of learners.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”  ไปปฏิบัติในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ครูผู้สอน จำนวน 167 คน นักเรียน จำนวน 353 คน และผู้ปกครอง จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น 690 คน  จากผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการนำนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ไปปฏิบัติของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 โดยผู้บริหารมีการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายฯ มีการวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินตามนโยบายฯ มอบนโยบายฯ ให้ครูผู้สอนซึ่งได้รับการอบรมทั้งความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ฯ เพื่อนำไปออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและเป้าหมายของนโยบายฯ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของตนเอง ช่วยกระตุ้นความสนใจมากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียน สามารถฝึกทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ต่อยอดในอนาคตได้เช่นเดียวกัน และผู้ปกครองยินยอมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สถานศึกษาได้ดำเนินการ ถึงแม้จะไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายฯ แต่พร้อมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความชอบ ผลศึกษาปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ไปปฏิบัติ คือ 1. ด้านงบประมาณจากภาครัฐ 2. ด้านการประสานงานจากหน่วยงานภายนอก 3. ด้านจำนวนครูผู้สอน 4. ด้านเวลาการจัดกิจกรรม 5. ด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/313
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214102.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.