Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/217
Title: AGENDA SETTING OF UNIVERSAL DESIGN POLICY AT LOCAL LEVEL IN PONGPHA SUBDISTRICT, MAE SAI, CHIANG RAI
การเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Authors: Teerada Nitimonthol
ธีรดา นิติมณฑล
Chatthip Chaichakan
ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: การเข้าสู่วาระนโยบาย
นโยบายระดับท้องถิ่น
อารยสถาปัตย์
Agenda Setting
Local Policy
Universal Design
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objective of this research is to study the Agenda Setting of Universal Design Policy at Local Level in Pongpha Subdistrict, Mae Sai, Chiang Rai. To explain the influential factors of agenda setting process and the role of policy entrepreneurs who are involved in bringing issues of assistive devices for people with disabilities to Universal design agenda setting at local level. Kingdon’s multiple-streams model was used as the framework to examine the agenda setting process. In this qualitative research, data are collected from documentary and in-depth interviews with local policy entrepreneurs. 6 key persons are the representative of three contexts, participants in local policy context, participants in political context and participants in the problem issue of Universal design policy. According to the study, the influential factor of agenda setting of Universal design at local level in Pongpha subdistrict is policy stream. Street level bureaucrats are experts who play an important role by directly providing solutions to the authority decision maker. In the bureaucracy management structure street level bureaucrats play an important role in public policy proceeding of local government organization via the ability to act as expert policy entrepreneurs with the knowledge of legislation and power to choose the alternative solution and decide which issue could be promoted to decision maker’s agenda by legislation preference, Policy entrepreneurs involved in bringing issues to agenda setting consist of people with disability who are directly affected by the problem and consequently raise issue to reach policy decision maker’s attention, Community leaders who bring urgent and significant public problem to the community’s attention and relay those concerns into the agenda setting process, and local politicians who also play an important role in pushing an issue to agenda setting Including local political participants who also play an important role in pushing an issue to agenda setting and leading to the policy in the future.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่วาระนโยบายและบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้ประเด็นปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ในระดับท้องถิ่น โดยใช้กรอบแนวคิดพหุกระแสของคิงดอน (Kingdon’s Multiple Streams) ในการวิเคราะห์กระบวนการเข้าสู่วาระนโยบาย และใช้วิธีการวิจัยทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายอารยสถาปัตย์ในพื้นที่ตำบลโป่งผา จำนวนทั้งหมด 6 คน เป็นตัวแทนของผู้ให้ข้อมูลสำคัญสามกลุ่ม คือผู้มีบทบาทในด้านนโยบายระดับท้องถิ่น ผู้มีส่วนผลักดันในด้านการเมือง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายอารยสถาปัตย์ในพื้นที่ จากผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโป่งผาคือ กระแสนโยบาย ที่พบว่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นข้าราชการปฏิบัติการมีบทบาทในการผลักดันให้นโยบายอยู่ในความสนใจของผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ เนื่องจากโครงสร้างของการบริหารงานที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านระเบียบข้อกฎหมายสามารถเสนอประเด็นปัญหาหรือโครงการที่ควรได้รับการแก้ไขโดยอ้างอิงถึงอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ผู้ผลักดันที่มีบทบาทในการผลักดันให้ปัญหาเข้าสู่วาระนโยบายได้ประกอบด้วย คนพิการที่ได้รับปัญหาและเรียกร้องให้ประเด็นปัญหาได้รับความสนใจ ผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนมีอิทธิพลในการนำประเด็นปัญหาให้คนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญที่จะกระทบต่อชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข และจะทำให้ประเด็นปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในลำดับต่อไป รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นที่จะร่วมผลักดันเพื่อเข้าสู่วาระการตัดสินใจเกิดเป็นนโยบายต่อไปได้
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/217
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61510610.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.