Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/185
Title: The Problems and Obstacles in Having the Defense Counsel in the Police Arrest Process according to the Criminal Procedure Code Section 7/1 : A Case Study in Chiang Rai Province
ปัญหาและอุปสรรคในการมีทนายความขอแรงในชั้นจับกุมของพนักงานตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
Authors: Tanachot Pethan
ธนโชติ เพ็ชรหาญ
Wimonrekha Sirichairawan
วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ
University of Phayao. School of Law
Keywords: ทนายความขอแรง
ชั้นจับกุมของพนักงานตำรวจ
กระบวนการของรัฐที่ดีที่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
การควบคุมอาชญากรรมโดยรัฐ
สิทธิมนุษยชน
จังหวัดเชียงราย
defense counsel
arrest process
due process
crime control
human rights
Chiang Rai Province
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The arrest process is an important part of the Criminal Procedure Code that aims to bring the accused into the Criminal Judicial Process. The process must follow and be in accordance with the Criminal Procedure Code, Section 7/1 which states that, "The arrested or accused person(s) has the right to meet with their chosen defense counsel, and the defense counsel can present at the interview stage”. Moreover, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017), Section 29 states that, "In a criminal case, it is presumed that the accused is innocent until proven guilty.  Further, until such time that the accused has been found guilty by judgement in a criminal court, that person should not be treated as guilty. Their detention can be approved only when it is necessary to prevent him from escape." At present, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) and the Criminal Procedure Code require the state to provide defense counsel for the accused. However, in reality, in the Thai Criminal Judicial Process, it has been found that the legal aid for the accused is still not able to proceed efficiently. The legal rights of the accused were not protected according to the spirit of the law. Moreover, the law does not provide any rule or duration of the arrested person’s rights to consult with their defense counsel.  There are no provisions in the arrest process requiring the state to provide the arrested person access to their defense counsel. As a result the accused is prevented from full opportunity to prepare and defend their case. Therefore, the potential solutions are as follows: 1) the Criminal Procedure Code, Section 7/1 must be amended to include the criteria and duration of granting the right(s) of arrested person to meet a defense counsel immediately upon arrest; 2) there should be a new provision requiring the state to appoint a counsel for the arrested person who is poor and cannot afford a counsel; and 3) where a criminal case carries a prison sentence of five years or more, being a severe penalty, affecting the life and freedom of the accused, defense counsel must be presented to refute the wrong allegation, to protect the accused’s rights and liberties in accordance with the spirit and intention of the Constitution of the Kingdom of Thailand.
ชั้นการจับกุม เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 บัญญัติว่า “ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว และให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำได้ในชั้นสอบสวน” และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น ผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ตาม แต่โดยสภาพความเป็นจริงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ปรากฏว่าการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 บัญญัติแต่เพียงว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม และไม่มีการกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ 1) ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 7/1 โดยการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม 2) การกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุมในกรณีที่มีฐานะยากจนและไม่มีความสามารถในการหาทนายความได้ด้วยตนเอง 3) ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปนั้นถือว่าเป็นคดีอาญาที่มีอัตราโทษร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อชีวิตและเสรีภาพของผู้ต้องหา เป็นอย่างมาก จึงควรมีทนายความร่วมอยู่ด้วยในการแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อทนายความได้คัดค้าน หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาไม่ถูกต้อง เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ให้สมดั่งเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Description: Master of Laws (LL.M.)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/185
Appears in Collections:School of Law

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60170037.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.