Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/156
Title: Effectiveness of Shuttle Bus in Casstudy of Service Personnel
ประสิทธิผลการจัดสวัสดิการรถบริการรับ-ส่ง กรณีศึกษา บุคลากรสายบริการ มหาวิทยาลัยพะเยา
Authors: Navin Phingkaew
นาวิน เพียงแก้ว
Veera Lertsomporn
วีระ เลิศสมพร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: ประสิทธิผล, รถรับ - ส่ง, บุคลากรสายบริการ
Effectiveness Shuttle bus service personnel
Issue Date:  6
Publisher: University of Phayao
Abstract: This self-study aims to study the effectiveness, Problems and suggestions for the welfare service a case study service personnel at University of Phayao. Research methodology was mixed research is quantitative research and qualitative research. The researchers collected data from the manager and staff use purposive sampling 3 cases and the samples were 33 with Accidental sampling. Using research tools as a structured interviews and questionnaires. Analyze data by finding the percentage average standard deviation and discussion.The results showed as follows: The majority of respondents were female, aged between 31-40 years old, Monthly income is between 16,200-20,000 baht, Frequency of use of the shuttle bus service is every day. And choose the shuttle bus service Because of the cost savings. The results of the analysis of comments on welfare Shuttle bus Service. Overall, it was at a high level. 1) Service personnel, Employees are punctual in their duties. 2) Security, The driver has experience and driving is not complacent. 3) Facility the up-down car services with ease. 4) The suitability of service routes. Transfer at the designated point. Suggestion: The University should consider the management of the shuttle bus service personnel to meet the needs. Public relations and invite people to use the welfare service.
การค้นคว้าด้วยตนเองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพประสิทธิผล ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดสวัสดิการรถบริการรับ-ส่ง กรณีศึกษา บุคลากรสายบริการ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และประชากรเป็นผู้ใช้บริการ จำนวน 33 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอภิปราย จากการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31–40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 16,200–20,000 บาท ความถี่ในการใช้บริการรถรับ-ส่ง คือ ทุกวัน และเหตุผลที่เลือกใช้บริการรถรับ-ส่งของมหาวิทยาลัย เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผลการวิเคราะห์ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ รถบริการรับ-ส่ง โดยรวมในระดับมาก 1) ด้านบุคลากรที่ให้บริการ พนักงานมีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ 2) ด้านความปลอดภัย พนักงานขับรถมีประสบการณ์ ความชำนาญ และขับอย่างไม่ประมาท 3) ด้านการอำนวยความสะดวก การขึ้น-ลงรถบริการ มีความสะดวก 4) ด้านความเหมาะสมของเส้นทางการให้บริการจอดรับส่งผู้โดยสารตรงตามจุดที่กำหนด ส่วนข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยควรพิจารณาการบริหารจัดการรถบริการรับ-ส่งบุคลากรให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยเพิ่มจำนวนรถให้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนขนาดให้สามารถขนส่งบุคลากรได้มากขึ้น ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้บุคลากรมาใช้บริการสวัสดิการรถรับ-ส่ง อย่างสม่ำเสมอ
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/156
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214898.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.