Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/148
Title: THE PROBLEMS OF POLICY IMPLEMENTATION OF THE ELDERLY SUBSISTENCE ALLOWANCE: A CASE STUDY OF CHIANG BAN SUB-DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, CHIANG KAM DISTRICT, PHAYAO PROVINCE
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ไปปฎิบัติ: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Authors: Pattarapron Pouypung
ภัทรภร พวยพุ้ง
Chaiyan Rajchagool
ไชยันต์ รัชชกูล
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: นโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ตำบลเชียงบาน
The allocation of the elderly subsistence allowance
The opinion of concerned people
Chiang Ban Sub district
Issue Date:  6
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aims to study factors Affecting the Implementation of the Elderly Care Welfare Policy, the problems of and suggestions about the welfare policy for the elderly in the area of Chiang Ban Sub district administrative organization, Chiang Kam district, Phayao province. This research combines quantitative and qualitative research. i.e. (1) A review a collection of data from various documents both in terms of conceptual approach and research findings related to the welfare policy in question. (2) An analysis of the field data collected from the questionnaire and (3) An analysis of interviews and observations to cover all aspects. The purposive sampling consists of 3 groups, namely 1 local politician who is directly responsible for the management of the elderly subsistence allowance; 8 government officials involved in the management of elderly subsistence allowances and 330 elderly people who are entitled to benefit from the welfare allowance. The instrument used for data collection was a questionnaire and a semi-structured interview. Statistics used in data analysis are those of frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings are as follows: (1) The number of the responses agree with the character of the organization to implement the policy, the character of the agency that results in success in implementing the policy is at the highest level; (2) the ability of the personnel, the relationship of individuals within the unit and the project, and the worker’s attitude towards the welfare policy of the elderly subsistence allowance are rated at the highest level; (3) Living in the family,community, appropriately of the elders is at high level. Additionally, the quality of life of the elderly, beneficiaries of the subsistence allowance, is at the moderate level.
การศึกษา “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติและเพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะจากการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ คือ 1) การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2) การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และ 3) การเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และสังเกตการณ์ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ชัดเจน และครอบคลุมในทุกด้าน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ รวมทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 1 คนกลุ่มข้าราชการซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 8 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติในด้านลักษณะองค์การในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีผู้เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ด้านความสามารถ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว, ชุมชน ได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากนอกจากนี้ด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเมื่อได้รับบริการเบี้ยยังชีพแล้ว ทำให้สามารถดำรงชีพได้มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/148
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214203.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.