Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/145
Title: Effective management of the basic requirement for welfare: Cases male inmates, prison Phayao.
ประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการด้านสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน แก่ผู้ต้องขังชาย: กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดพะเยา
Authors: Tanit Pitumma
ทนิตย์ ภิธรรมมา
Veera Lertsomporn
วีระ เลิศสมพร
University of Phayao. School of Political and Social Science
Keywords: ประสิทธิผล
ผู้ต้องขังชาย
สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน
Effectiveness
Shuttle bus
Service personnel
Issue Date:  6
Publisher: University of Phayao
Abstract: This self-study aims to study the effectiveness of basic welfare management and problems, obstacles and recommendations for the administration of basic needs welfare for male prisoners of prisons in Phayao Province. Research methodology was Mixed research, using a quantitative research methodology and structured in-depth interviews. The researchers collected data from key informant interview 10 case and a sample of 330 inmates with simple random sampling. Using research tools as a structured interviews and questionnaires. Analyze data by finding the percentage average standard deviation and discussion. The results showed as follows: prison inmates who answer most queries Aged less than 30 years old, status single, academic degree level Vocational Certificate/Senior High School. The time is controlled in prison. Between 1-5 year, And the offense in the drug case. Comments about the management of Basic needs welfare. Overall, each level is very high. The average score is sorted descending include: Sports and Recreation, Furnished dwelling, Healthy Condition of the inmates, Clothing, Healthcare Service and Food Service. Suggestion: Should find ways to build more housing because of the increase in the number of inmates. Measures should be taken to regulate the shelter shop to sell products at fair prices to inmates. Including organizing the purchase.
การค้นคว้าด้วยตนเองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการ ด้านสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน และปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสวัสดิการด้านสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังชายของเรือนจำจังหวัดพะเยา เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเชิงลึก ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากเรือนจำจังหวัดพะเยา จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ต้องขัง จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอภิปราย จากการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดพะเยาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุต่ำกว่า 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปวช./มัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะเวลาที่ถูกควบคุมในเรือนจำ อยู่ระหว่าง 1–5 ปี และมีฐานความผิดในคดียาเสพติด ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสวัสดิการด้านสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้ง 6 ด้าน โดยรวมและแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกีฬา และนันทนาการ ด้านที่นอน/ที่อยู่อาศัย ด้านการอนามัยของผู้ต้องขัง ด้านเครื่องนุ่งห่มหลับนอน ด้านการรักษาพยาบาล และด้านอาหาร สำหรับข้อเสนอแนะ ควรพิจารณาหาแนวทางในการสร้างอาคารที่พักอาศัยเพิ่มเติม เนื่องจากปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ต้องขัง ควรมีมาตรการในการควบคุมกำกับร้านค้าสงเคราะห์ให้จำหน่ายสินค้าในราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้ต้องขัง รวมถึงการจัดระเบียบในการเข้าซื้อสินค้า
Description: Master of Public Administration (M.P.A. (Public Policy))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม. (นโยบายสาธารณะ))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/145
Appears in Collections:School of Political and Social Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59214146.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.