Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/136
Title: THE STUDY ON EDUCATIONAL LEADERSHIP DEVELOPMENT 4.0 OF THE INSTITUTION ADMINISTRATORS PATHAI GROUP UNDER LAMPANG EDUCATIONALARERVICE AREA OFFICE 1
การศึกษาความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายผาไท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
Authors: Nawaporn Kaewwichai
นวพร แก้ววิชัย
Sopa Umnuayrat
โสภา อำนวยรัตน์
University of Phayao. School of Education
Keywords: ผู้นำทางวิชาการ
การศึกษา 4.0
Educational Leadershiip
Development 4.0
Issue Date:  24
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aimed to study and develop educational leadership development of the institution administrators Pathai group under Lampang educational service area office 1 in education 4.0. The sample group was 97 administrators and teachers of Pathai group under Lampang educational service area office 1. The instruments were questionnaire with 1-5 Likert’s scale and semi-structured interview. Data analyses were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results show that 1) The overall of educational leadership development of the institution administrators Pathai group under Lampang educational service area office 1 in education 4.0 was at a high level. Promotion of academic atmosphere was at a high level where as supervision was at a lowest level. 2) The guidelines to improve educational leadership development of the institution administrators Pathai group under Lampang educational service area office 1 in education 4.0 are as followed. The knowledge of supervision should be informed and provided to the teachers. The teacher should be aware of the importance of supervision and it should be ongoing. For teaching and learning development, teacher should be encouraged to gain the knowledge and develop their teaching and learning in order to create a variety of activities in the classroom. Curriculum should be improved and developed and be consistent with the core curriculum, local context, learners ‘needs and up to date. Administration management should be decentralized so that the school can operate independently, quickly and systematically. The cooperation of departments should be focused on. Strategic planning should be systematically planned. It should have a goal and can be operated easily. Moreover, it should be consistent with the national strategic plan. For promotion of academic atmosphere, teachers should be encouraged to create a proper atmosphere both inside and outside the classroom for teaching and learning activities. Teacher should encourage to have a wide range of knowledge about current of media, equipment and technology. Teachers should be aware of the importance of measurement and evaluation. The measurement and evaluation should be clarity and consistent with curriculum.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายผาไท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง  ที่ใช้  คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายผาไท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จังหวัดลำปาง จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายผาไท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศ 2. ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายผาไท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โดยการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านการนิเทศ ผู้บริหารต้องชี้แจงให้ครูตระหนักให้ความรู้เรื่องการนิเทศ และนิเทศอย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ควรสนับสนุนให้ครูมีความรู้และให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรมีการสร้าง ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ท้องถิ่น ความต้องการของผู้เรียน และทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารจัดการ ควรมุ่งบริหารจัดการโดยการกระจายอำนาจ เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว เป็นระบบ และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ควรมีการวางแผนกลยุทธอย่างเป็นระบบ กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตที่ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ส่งเสริมให้ครูจัดสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี ควรสนับสนุนให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลาย เหมาะสมและทันสมัย ด้านการวัดและประเมินผล ควรสร้างความตระหนักให้ครูเห็นถึงความสำคัญของการวัดและประเมินผล กำหนดนโยบายและแผนการวัดและประเมินผลที่ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักสูตร
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/136
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60206824.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.