Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/116
Title: | PROBLEMS AND GUIDELINE OF THE CO-EDUCATIONAL CURRICULUM PROVISION OF VOCATIONAL AND UPPER SECONDARY EDUCATION (DUAL EDUCATION) UNDER THE OFFICE OF THE VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION,LAMPANG PROVINCE. ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง |
Authors: | Orawan Khamngam อรวรรณ คำงาม Ruksit Suttipong รักษิต สุทธิพงษ์ University of Phayao. School of Education |
Keywords: | ปัญหาและแนวทางจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา) Problems and guidelines of the co-educational curriculum provision of vocational and upper secondary education |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The objectives of this research were to 1) Study the problems of the co-educational curriculum provision of vocational and upper secondaryr education (Dual Education) of the vocational institures under the Office of the Vocational Education Commission in Lampang province. 2) To compare the problems of co-educational curriculum provision of vocational and upper secondary education (Dual Education) in Lampang province according to the opinion of the administrators and teachers classified by their status, sex, age, position, education qualification and teaching experiences and 3) To study guidelines for solving the problems of co-educational curriculum provision of vocational and upper secondary education (Dual Education) of the vocational institutes under the office of the Vocational Education Commission in Lampang province. The sample groups for this research were 152 administrators and teachers under the office of the Vocational Education Commission in Lampang province. The tools that were used for collecting the data; for example, the Rating Scale questionnaire. 1. The result of the analysis of the problems of co-educational curriculum provision of vocational and upper secondary education (Dual Education) according to the overview opinion of the administrators and teachers were expressd at much level. Since considering in each aspect found that the aspect of having problems was at much level; such as, the aspect of transferring learning outcome, and the aspect that has minimal practical problems was the vocational education curriculum provision. 2. The comparison result of the provision was categorized the status by the position and experience in teaching, found that the respondents have different opinions. 3. The guidelines for solving the problems of education provision are as follows: 1) The aspect of analyzing the category of courses. 2) The aspect of designating the curriculum of the education institutes. 3) The aspect of learning and teaching. 4) The aspect of vocational education curriculum provision. 5) The aspect of measurement and evaluation. 7) The aspect of graduation. 8) The aspect of professional standards assessment. 9) The aspect of the quality assurance of the curriculum. การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t–test และสถิติ F–test ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปางตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการโอนผลการเรียน และด้านที่มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง เมื่อจำแนกสถานภาพตาม ตำแหน่งและประสบการณ์ในการสอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาได้มีแนวทางจัดการศึกษา ทั้งหมด 9 ด้าน คือ 1) ด้านการวิเคราะห์ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน 2) ด้านการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 5) ด้านการวัดผลประเมินผล 6) ด้านการโอนผลการเรียน 7) ด้านการสำเร็จการศึกษา 8) ด้านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ 9) ด้านการประกันคุณภาพหลักสูตร |
Description: | Master of Education (M.Ed. (Educational Administration)) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/116 |
Appears in Collections: | School of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59207069.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.