Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/110
Title: A STUDY OF KNOWLEDGE MANAGEMENT PROCESS OF STEM EDUCATION IN THE SCHOOLS UNDER LAMPANG PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3.
การศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3
Authors: Patcharee Thikeng
พัชรี ทีเก่ง
Sunthon Khlaium
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: การจัดการความรู้
สะเต็มศึกษา
Knowledge Management
STEM Education
Issue Date:  6
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this study were to study the Knowledge Management Process of STEM Education in the schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3 of the 2016 Academic year. The population were 96 teachers in Educational Opportunity Expansion Schools; under Lampang Primary Educational Service Area Office 3. Data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The results found that overaii five strategies of the Knowledge Management Process of STEM Education in the schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3 of the 2016 Academic year were categorized at high level all aspects; ascending descending from highest to the lowest were: knowledge define, knowledge use, knowledge create, knowledge capture and knowledge share. The problems and Solutions in Managing Knowledge Management Process of STEM Education was found that teachers and educational personal, lack of the knowledge management to A study of Knowledge Management Process of STEM Education including learning, knowledge management and sharing knowledge. Lampang Primary Educational Service Area Office 3 should promote teachers and education personal to realize and participate in  development, improvement and clearly in Knowledge Management Process of STEM Education including learning
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาและเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารกระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ปีการศึกษา 2559 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราประเมินค่า และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษา พบว่า กระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ตามกระบวนการในการจัดความรู้ 5 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดองค์ความรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้ความรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างองค์ความรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการเสาะแสวงหาและจัดเก็บองค์ความรู้ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ตามลำดับ ปัญหาและแนวทางในการบริหารกระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษา พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษายังขาดกระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษา ด้านการเสาะแสวงหาและจัดเก็บองค์ความรู้ รวมถึงด้านการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ควรมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักในการร่วมกันวางแผน พัฒนา ปรับปรุง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการความรู้ของสะเต็มศึกษาและมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/110
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59206990.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.