Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/109
Title: Condition of academic administration of private school at elementary level in Muang District, Chiang Rai Province.
สภาพการบริหารงานวิขาการของโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Authors: Napaporn Sutthawong
นภาพร สุทธวงค์
Sunthon Khlaium
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: การบริหารวิชาการ
โรงเรียนเอกชน
Academic administration.
Private school.
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: This Independent study aimed to study the state of academic administration. To study the problems and solutions in academic administration. And to compare the opinions of administrators and teachers based on work experience on the academic administration in private schools. The population in the study were 138 persons, include both administrators and teachers, 5 administrators and 133 teachers. The instrument used for this research is questionnaire, analyzed data were percentage, mean and standard deviation. The academic administration of the 9 aspects had a high level. The side with the highest average is teaching and the second was the evaluation report, curriculum, academic Planning, research, quality insurance education, The involvement of the community and local knowledge, The development of media technology and innovation for education. The study found that the course, the new teacher didn't understand the course. The group leader should take care and executive management should be introduced and how the curriculum. 2) Teaching aspect: The students have too much, They need to break the group. 3) research aspect: Teachers cannot be prepared a long term research, It should be short term research. 4) The development of media technology and innovation for education aspect  because teachers had too much responsibility, lack of budget. Administrator should support budget and material. 5) The involvement of the community and local knowledge aspect, administrator should support teachers to participate community culture tradition. For comparing experience was not different, for the fourth aspect evaluation report was different.
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ และเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารและครูผู้สอนตามประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 138 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนการสอน และรองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ พบว่า 1) ด้านหลักสูตร ครูผู้สอนที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการสอนยังไม่เข้าใจหลักสูตร ควรให้หัวหน้ากลุ่มสาระเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และผู้บริหารควรแนะนำและวิธีใช้หลักสูตร 2) ด้านการวางแผนงานวิชาการ บางช่วงเวลาไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานวิชาการที่วางไว้ได้และควรส่งเสริมงานวิชาการทุกกลุ่มสาระ ควรขยายช่วงเวลาในการดำเนินงาน และควรจัดอบรม หรือศึกษาดูงาน 3) ด้านการเรียนการสอน จำนวนนักเรียนในห้องมากเกินไป ควรแบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน นักเรียนไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ครูผู้สอนควรบอก ตักเตือน และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ 5) ด้านการวิจัยชั้นเรียน ครูผู้สอนไม่สามารถจัดทำงานวิจัยระยะยาวได้ เพราะมีภาระงานมาก จึงควรจัดทำงานวิจัยระยะสั้น ภายใน 1 ภาคเรียน 6) ด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการสอน ครูไม่สามารถผลิตสื่อได้มากเนื่องจากภาระงานมีมาก และงบประมาณไม่เพียงพอ ควรจัดหาสื่อสำเร็จรูปมาแทน และผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่น  ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้าร่วม โดยการแบ่งกลุ่มครูเพื่อเข้าร่วมประเพณีดังกล่าว    8) ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารขาดการนิเทศแบบต่อเนื่อง ควรให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาในการเข้านิเทศ 9) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานตัวชี้วัดเปลี่ยนไปทำให้ครูขาดความเข้าใจ ควรจัดอบรมให้ครู จากการเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน พบว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 16 ปีขึ้นไป มีการดำเนินงานสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงาน 1-15 ปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน มีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/109
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59206989.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.