Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1025
Title: A study of inequality in education of schools in Mae Sai District Chiang Raiunder the Office of the Commission. Basic education
การศึกษาสภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Chaiwat Wongboonrueng
ชัยวัฒน์ วงศ์บุญเรือง
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
thidawan.un@up.ac.th
thidawan.un@up.ac.th
Keywords: ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
Inequality in Education
Strategies for reducing educational disparities
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research are as follows: to study the conditions and strategies for reducing educational disparities in schools in Mae Sai District, Chiang Rai Province, under the jurisdiction of the Basic Education Committee, with the sample group consisting of school directors, deputy school directors, teachers, and educational personnel in Mae Sai District, Chiang Rai Province, under the jurisdiction of the Basic Education Committee, totaling 235 people. The data collection tool used is a questionnaire with an IOC value between 0.67-1.00, a questionnaire reliability value of 0.97, and a semi-structured interview. Statistical analysis methods used include percentages, means, and standard deviations.                    The research findings are as follows: The overall condition of educational disparities in schools in Mae Sai District, Chiang Rai Province, is significantly high. The areas of educational disparities, ranked from highest to lowest, are as follows: teacher standards, quality of teaching management, students, school facilities, family income and assets, and family residence. Strategies for reducing educational disparities in schools in Mae Sai District, Chiang Rai Province, should include planning student enrollment within the school's service area, home visits to students to identify problems and understand the living conditions of the target students, cooperation between schools and communities to create strong communities, and promotion of supplementary vocational skills for parents by relevant organizations.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของ โรงเรียนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                     ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านสภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านมาตรฐานของครู ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านเด็กนักเรียน ด้านสถานศึกษา ด้านรายได้และทรัพย์สินของครอบครัว และด้านถิ่นที่อยูของครอบครัว 2) แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ควรใช้การวางแผนการรับนักเรียนในเขตบริการของโรงเรียนการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อที่โรงเรียนจะได้รับทราบปัญหาและเห็นสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนเป้าหมายของโรงเรียน ความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและควรส่งเสริมในเรื่องการประกอบอาชีพเสริมให้กับผู้ปกครองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1025
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65170076.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.