Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/986
Title: THE EFFECTS OF BLENDED LEARNING APPROACH FOR ENHANCING THAIEFL STUDENTS’ SPEAKING SKILLS IN THE CONTEXT OF ENGLISHAS A LINGUA FRANCA AND SELF–REGULATED LEARNING
ผลของการใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลกและการเรียนรู้แบบกำกับตนเองของนักศึกษาไทย
Authors: Ditthawat Thongsook
ดิษฐวัฒน์ ทองสุข
Sukanya Kaowiwattanakul
สุกัญญา เกาะวิวัฒนากุล
University of Phayao
Sukanya Kaowiwattanakul
สุกัญญา เกาะวิวัฒนากุล
sukanya.ka@up.ac.th
sukanya.ka@up.ac.th
Keywords: การเรียนรู้แบบผสานวิธี
ทักษะการพูด
ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลก
การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง
นักศึกษาไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
Blended Learning
Speaking Skills
English as a Lingua Franca
Self–Regulated Learning
Thai EFL Students
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to investigate the effects of blended learning approach for enhancing Thai EFL students’ speaking skills in the context of English as a lingua franca, compare the levels of Thai EFL students’ self–regulated learning before and after learning through blended learning approach, and survey Thai EFL students’ opinion after learning through blended learning approach. The participants were 20 of the 1st year students studying in the program of accounting. The research instruments were blended learning approach, lesson plans, the tests of speaking skills in the context of English as a lingua franca, the questionnaire for evaluating self–regulated learning, the questionnaire for evaluating opinion on learning through blended learning approach, and semi–structured interview. The data was analyzed by mean, standard deviation, and t–test (Normal Distribution was checked). The results found that the score of test of speaking skills in the context of English as a lingua franca was significantly higher after learning through blended learning approach. Similarly, the level of self–regulated learning was higher after learning via the approach. For the finding from the questionnaire for evaluating opinion on blended learning approach, it was positive. As the findings from the interview, the results specified that blended learning approach seems to promote the students to learn and practice in anywhere and anytime. They could learn and practice through online learning. Then, the students could discuss and practice together with their peers in the classroom. From this learning environment, they were promoted and trained to learn actively and become self–regulated learners.
งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลก เพื่อเปรียบเทียบระดับการเรียนรู้แบบกำกับตนเองก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธี และเพื่อสำรวจความคิดเห็นก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีของนักศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาจำนวน 20 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการบัญชี เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยคือแนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธี แผนจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลก แบบสอบถามการประเมินการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธี และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยคือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t–test) ซึ่งได้มีการทดสอบการแจกแจงปกติ ผลของการวิจัยปรากฏว่าคะแนนการทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธี ซึ่งไม่แตกต่างจากผลของการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ที่มีระดับที่สูงขึ้นหลังการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธี สำหรับผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีนั้น ผลปรากฏว่า ความคิดเห็นดังกล่าวเป็นไปในทางที่ดี ขณะที่ผลจากการสัมภาษณ์ ระบุว่าแนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติผ่านช่องทางออนไลน์ หลังจากนั้น ผู้เรียนสามารถร่วมอภิปรายและฝึกปฏิบัติร่วมกับผู้เรียนอื่น ๆ ในห้องเรียน ซึ่งการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้แบบผสานวิธีนั้น สามารถส่งเสริมและฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและสามารถเรียนรู้โดยกำกับตนเองได้
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/986
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61410697.pdf6.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.