Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/955
Title: | Effect of the Study of Beef Cow Farm Management Growth and Heat Tolerance of Fibroblast Cells in Beef Cattle ผลของการศึกษาการจัดการฟาร์มโคเนื้อแม่พันธุ์ การเจริญเติบโตและการทนต่อความร้อนของเซลล์ไฟโบบลาสต์ในโคเนื้อ |
Authors: | Monpak Klamrak มลภัคน์ กล่ำรักษ์ Payungsuk Intawicha พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา University of Phayao Payungsuk Intawicha พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา payungsuk.in@up.ac.th payungsuk.in@up.ac.th |
Keywords: | การจัดการฟาร์มโคเนื้อแม่พันธุ์ ความไวต่อความร้อน เซลล์ไฟโบบลาสต์ ตัวอ่อน Beef cows farm management Heat sensitivity Fibroblast cells Embryo |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The study's aims were as follows: 1. to investigate farming practices that influence farmer calf production; and 2. to investigate the division rate, survival rate, and heat shock protein 70 genes of embryonic cells and fibroblast cells from dairy cows, Angus hybrid, Charolais hybrid, and Thai Native cattle. Study 1 entails surveying farmers and collecting data on the production of indigenous and hybrid beef cattle. The study's findings revealed that: The conclusions of the research are as follows: 22.22% of farmers in the adjusted group achieved GAP certification, whereas 77.78% acquired GFM agricultural standards certification. In comparison, none have certification at a rate of 100%. In terms of cattle breeds, the majority of farmers (77.78%) raised Charolais crossbred beef cattle in the reform group, and 100% employed artificial insemination. 45.45% of the group did not adjust their methods of rearing Brahman crossbred beef cattle. Both farmer groups have 100% of their rice straw supply conserved and high-quality grazing grass. As a result, producers run their breeding beef ranches properly. Causing the cows to have a body condition score of at least 5 will increase the efficiency of calf production. Farmers in the change group had 88.44 percent pregnancy and 87.56 percent calf calving, whereas farmers in the non-change group had 68.84 percent pregnancy and 65.07 percent calf calving. Studies 2 used a complete randomized design (CRD) to split the studies into five groups. Group 1: Dairy cattle, Group 2: Thai Native Cattle, Group 3: Charolais Hybrid Cattle, Group 4: Angus Hybrid Cattle, and Group 5: Thai Native Cattle Embryos. According to the findings, Fibroblast cells from the skin of embryos had the greatest rate of division. The highest percentage was determined to be 241.80%, followed by Angus, Charolais, and Thai Native cattle (220.64%, 211.51%, and 195.17%, respectively), while the lowest was found to be 170.53% (P 0.001). The survival rate of fibroblast cells heated at 42 degrees Celsius is 95.93±0.48, 48 hours is 80.40±0.46, 72 hours is 39.69±2.64 and 96 hours is 21.39±0.78, respectively. As a result, the presence of the HSP70 family gene in native cattle indicates that these genes are vital in cellular function and stress response. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อศึกษาการจัดการฟาร์มโคเนื้อที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตลูกโคของเกษตรกร และข้อที่ 2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและการแสดงออกของยีน HSP60, HSP70, และ HSP90 ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของโคนม โคลูกผสมแองกัส โคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ โคเนื้อพื้นเมือง และตัวอ่อนโค การศึกษาที่ 1 ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตของโคเนื้อพื้นเมืองและโคเนื้อลูกผสมของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้รับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP ร้อยละ 22.22 และมาตรฐานฟาร์ม GFM ร้อยละ 77.78 ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มีการได้รับรองมาตรฐานร้อยละ 100 สายพันธุ์โคเนื้อแม่พันธุ์ที่เลี้ยง พบว่ากลุ่มที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เลี้ยงโคเนื้อแม่พันธุ์สายพันธุ์ลูกผสมชาร์โรเล่ห์มากที่สุดร้อยละ 77.78 กลุ่มที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน และสายพันธุ์ลูกผสมชาร์โรเล่ห์ร้อยละ 45.45 เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีการเก็บสำรองฟางข้าว และทำแปลงหญ้าคุณภาพ ร้อยละ 100 ดังนั้นการที่เกษตรกรมีการจัดการฟาร์มโคเนื้อแม่พันธุ์ที่ดีทำให้โคมีคะแนนสภาพร่างกายไม่ต่ำกว่าระดับ 5 จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิตลูกโค โดยโคเนื้อแม่พันธุ์ของเกษตรกรกลุ่มที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการตั้งท้อง ร้อยละ 88.44 และการเกิดของลูกโค ร้อยละ 87.56 สูงกว่า โคเนื้อแม่พันธุ์ของเกษตรกรกลุ่มที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีการตั้งท้อง ร้อยละ 68.84 และการเกิดของลูกโค ร้อยละ 65.07 การศึกษาที่ 2 ทำการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Complete Randomized Design ; CRD) โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 โคนม กลุ่มที่ 2 โคเนื้อพื้นเมือง กลุ่มที่ 3 โคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ กลุ่มที่ 4 โคลูกผสมแองกัส กลุ่มที่ 5 ตัวอ่อนโค ผลการศึกษาพบว่า อัตราการแบ่งตัวของเซลล์ไฟโบบลาสต์ รอดชีวิตของเซลล์ไฟโบบลาสต์ที่ได้รับความร้อนที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส พบว่าเซลล์ไฟโบบลาสต์จากผิวหนังของตัวอ่อนมีอัตราการแบ่งตัวสูงที่สุด ร้อยละ 241.80 รองลงมา คือ โคลูกผสมแองกัส โคลูกผสมชาร์โรเล่ห์ และโคพื้นเมือง (ร้อยละ 220.64, 211.51, และ 195.17 ตามลำดับ) ต่ำที่สุด คือ พบว่า เซลล์ไฟโบบลาสต์จากผิวหนังของโคนม ร้อยละ 170.53 (P |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/955 |
Appears in Collections: | School of Agriculture and Natural Resources |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010954.pdf | 3.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.