Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/950
Title: THE RESULTS OF THE CERVICAL CANCER SCREENING BEHAVIOUR PROMOTION PROGRAM BY APPLYING THE HEALTH BELIEF MODEL OF WOMEN AGED 30-60 YEARS, PONGPHA SUBDISTRICT, MAESAI DISTRICT, CHIANGRAI PROVINCE
ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยง อายุ 30-60 ปี เขตตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Authors: Teeranad Panyayom
ธีรนาฎ ปัญญายม
Anukool Manotone
อนุกูล มะโนทน
University of Phayao
Anukool Manotone
อนุกูล มะโนทน
anukool.ma@up.ac.th
anukool.ma@up.ac.th
Keywords: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
สตรีกลุ่มเสี่ยง
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
Cervical cancer screening
Risk women
Health Belief Model
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: Cervical cancer is a common, life-threatening disease among women worldwide, including Thailand. This study was divided into two phases. Phase 1 conducted cross-sectional research on cervical cancer screening behavior among at-risk women aged 30-60 years old in Pong Pha Subdistrict, Mae Sai District, Chiang Rai Province, using systematic random sampling with 321 participants. Descriptive statistics, including mean, percentage, and standard deviation were employed, along with inferential statistics such as the Chi-square test and Fisher's exact test. The second phase involved quasi-experimental research to evaluate the effects of a cervical cancer screening promotion program based on the health belief model among at-risk women aged 30-60 years old in the same area. A single cohort sample of 30 women who had not undergone cervical cancer screening in Phase 1 was selected, and data was collected via questionnaires. Descriptive statistics, including mean, percentage, and standard deviation, were applied, along with the Paired samples t-test for inferential statistics. The results of the phase 1 study found that the sample group had never been screened for cervical cancer (61.68%), had moderate level of knowledge (40.81%), and high level of attitude (75.70%). Factors related to cervical cancer screening behavior were age (p-value = 0.001), contraceptive history (p-value = 0.012), duration of contraception (p-value = 0.004), and knowledge about cervical cancer (p-value = 0.003). The second phase, was found that the sample had an average score on knowledge about cervical cancer, awareness of the risk of developing cervical cancer perceived the severity of cervical cancer recognized the benefits of cervical cancer screening and perceived barriers to receiving cervical cancer screening between before and after the experiment were significantly different 0.05 and there was an increase in cervical cancer screening behavior (93.33%). Therefore, if the behavior has been continuously promoted it will help risk women to get more screening for cervical cancer and can reduce the incidence of new cases of cervical cancer in the community.
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่คุกคามชีวิตพบได้บ่อยในสตรีทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สามารถป้องกันได้ โดยการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 30-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง 321 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test และ Fisher’s exact test และระยะที่ 2 เป็นรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของสตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 30-60 ปี ในเขตตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียว เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากการศึกษาระยะที่ 1 ได้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Paired samples t-test ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่เคยตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ 61.68) มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.81) และมีทัศนคติอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 75.70) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ อายุ (p-value = 0.001) ประวัติการคุมกำเนิด (p-value = 0.012) ระยะเวลาการคุมกำเนิด (p-value = 0.004) และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก (p-value = 0.003) ในระยะที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ประโยชน์ของการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการรับรู้อุปสรรคของการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขี้น (ร้อยละ 93.33) ดังนั้น ถ้าหากได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นและสามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในชุมชนได้
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/950
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64228574.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.