Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/944
Title: | The Study of participatory care model for pulmonary tuberculosis
patients in Mae Jai, Sub-District Community,
Mae Jai District, Phayao Province การศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา |
Authors: | Thanyamas Muengdet ธัญมาศ เมืองเดช Prachuab Lamluk ประจวบ แหลมหลัก University of Phayao Prachuab Lamluk ประจวบ แหลมหลัก prachuab.la@up.ac.th prachuab.la@up.ac.th |
Keywords: | วัณโรค, การมีส่วนร่วม, รูปแบบการดูแล Tuberculosis Participation Care model |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Pulmonary tuberculosis is a contagious disease that have to take a long time for treatment and needs appropriate care model. This action research aimed to study the participatory care model for pulmonary tuberculosis patients in Mae Jai sub-district community, Mae Jai district, Phayao province. This study was divided into 2 phases: 1) situation analysis for pulmonary tuberculosis patients care in Mae Jai sub-district community and 2) investigate participatory care model for pulmonary tuberculosis patients in Mae Jai sub-district community. The key informants were 28 stakeholders such as man included village health volunteer, village headman, health officials, patients, people who were diagnosed and treated for tuberculosis and their relatives. Data were collected by in-dept interview and focus group discussion and content analysis was performed for data analysis. The results revealed that Mae Jai sub-district community was the highest morbidity and mortality rate of tuberculosis but the role of family and community for patient care prod is unclear. The participatory care model investigated was composed of 4 components; 1.Man included village health volunteer, village headman, health officials, patients, people who were diagnosed and treated for tuberculosis and their relatives, 2.Money allocated from Primary Care Unit, hospital and municipality, 3.Materials supported by community hospitals and subdistrict health promotion hospitals and 4.Management according to “3 hearts concept” (encourage heart, pay attention heart and confederate heart). The results of model lead to patient self-care, community participation and effective treatment. This model will be applied for all area in Mae Jai district or other area as the similar context. วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่ต้องใช้เวลารักษายาวนาน และควรมีรูปแบบการดูแลที่เหมาะสม การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด ในชุมชนตำบลแม่ใจและศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชนตำบลแม่ใจ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 28 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยหรือผู้ที่เคยป่วยวัณโรค และญาติผู้ป่วย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนตำบลแม่ใจเป็นพื้นที่ที่พบจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดจากทุกตำบล แต่การเข้าถึงบทบาทของการดูแลผู้ป่วยจากครอบครัวและชุมชนยังไม่ชัดเจน ผลการศึกษารูปแบบ พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเกิดขึ้นด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1.บุคลากร ได้แก่ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยหรือผู้ที่เคยป่วยวัณโรค และญาติผู้ป่วย 2. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาล และเทศบาล 3. วัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับจากโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 4. การจัดการที่เกิดการประสานงานตามขั้นตอน “กำลังใจ ใส่ใจ และ ร่วมใจ” ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งผลทำให้การรักษาเกิดผลสำเร็จโดยที่ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่และพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/944 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64224435.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.