Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/943
Title: | The Development of Dengue Hemorrhagic Fever Preventive and Control Measures by Community-Base, Pafaek Subdistrict, Maechai District, Phayao Province. การพัฒนามาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา |
Authors: | Chutikan Somsingjai ชุติกาญจน์ สมสิงห์ใจ Suthichai Sirinual สุทธิชัย ศิรินวล University of Phayao Suthichai Sirinual สุทธิชัย ศิรินวล drsithichai7828@gmail.com drsithichai7828@gmail.com |
Keywords: | มาตรการ การใช้ชุมชนเป็นฐาน การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก Measures Community-Based Prevention and Control of Dengue Hemorrhagic Fever |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This community-based action research (CAR) aimed to develop and evaluate preventive and control measures for dengue hemorrhagic fever, conducted during October 1, 2022–February 28, 2023 according to the cycle Kemmis & McTaggart. The study was divided into 3 phases, consisting of phase 1:Planning stage by studying the community context, document studies, interviews with people who have experience in dengue prevention and control, study the guidelines for disease prevention and control, consult with experts and review the literature and theoretical concepts, then gathered into a draft of prevention and control measures for dengue fever. Phase 2:Action and Observe stage, used draft from phase 1 to develop a community-based prevention and control measure for dengue fever at Ban Pa Faek Doi, Moo 4 with AIC technique, 35 participants were representatives from the community and government official, the data were collected by semi-structured interview. Phase 3:Reflection stage, to evaluate the appropriateness and feasibility of the developed preventive and control measures for Pafaek sub-district.
The result showed that summary of the development of dengue hemorrhagic fever preventive and control measures, i.e. PAFAEK Measures, consisting of 6 aspects: 1) Participation (Participation:P), 2) Associate (Associate:A), 3) Facilitators (Facilitators:F), 4) Advocate (Advocate:A), 5) environmental management (Environmental:E) and 6) Knowledge creation (Knowledge:K), which implemented in 3 phases: pre-epidemic phase. (January to April) Epidemic period (May to September) Post-epidemic period (October to December). การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (community-based action research: CAR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565–28 กุมภาพันธ์ 2566 ตามวงจรของ Kemmis & McTaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ขั้นวางแผน โดยศึกษาบริบทชุมชนร่วมกับชุมชน ศึกษาเอกสารสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ศึกษาคู่มือแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและศึกษาทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดทฤษฎี นำมารวบรวมเป็นร่างมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติและขั้นสังเกต ผู้วิจัยนำร่างที่ได้จากระยะที่ 1 มาพัฒนาเป็นมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านป่าแฝกดอย ด้วยเทคนิคการจัดประชุมด้วยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนภาคประชาชนและภาครัฐ จำนวน 35 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), สมาชิกสภาเทศบาลตำบลป่าแฝก, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลตำบลป่าแฝก, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.ป่าแฝก และตัวแทนประชาชน เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 3 ขั้นสะท้อนผล เป็นการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลป่าแฝกที่พัฒนาขึ้น สรุปผลการพัฒนามาตรการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ มาตรการ PAFAEK ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วม (Participation:P) 2) ด้านภาคีเครือข่าย (Associate:A) 3) ด้านผู้สนับสนุนหรือพี่เลี้ยง (Facilitators:F) 4) ด้านข้อมูลข่าวสาร (Advocate:A) 5) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental:E) และ 6) ด้านการสร้างความรู้ทุกช่องทาง (Knowledge:K) โดยแบ่งการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนระบาด (มกราคมถึงเมษายน) ระยะระบาด (พฤษภาคมถึงกันยายน) ระยะหลังระบาด (ตุลาคมถึงธันวาคม) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/943 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64224413.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.