Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/941
Title: | FACTORS AFFECTING CORONAVIRUS DISEASE 2019 INFECTION AMONG HEALTH VOLUNTEERS IN WANG NUEA DISTRICT, LAMPANG PROVINCE ปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง |
Authors: | Kanyapat Kidarn กัญญาภัทร คิดอ่าน tienthong Takaew เทียนทอง ต๊ะแก้ว University of Phayao tienthong Takaew เทียนทอง ต๊ะแก้ว tienthong.ta@up.ac.th tienthong.ta@up.ac.th |
Keywords: | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน health litracy coronavirus disease 2019 health volunteers |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The health volunteers were important front-line person in surveillance and coronavirus disease 2019 (COVID-19) control who risk of disease infection. Cross-sectional aims to study characteristic, health literacy, prevention behaviors, COVID-19 infection and factors affecting COVID-19 infection. The 302 samples of health volunteers in Wang nuea district were selected by using the multistage sampling method. Data collection was done by using a questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and binary logistic regression analysis. The results showed that most of the sample were female 80.1%, and aged average of 51.33 years old, married 76.5%, in primary school 52.3%, agriculturist 62.3%, and average of years’ working experience was 12.53 years. In addition, the level of health literacy including knowledge and decision were high levels (85.8% and 61.6%) access to health information and health services, communication, self-management, and media literacy were at moderate levels (53.0% 54.6% 55.3% and 54.3%) and prevention behaviors of COVID-19 was at high levels (81.1%) respectively. From binary logistic regression analysis found gender, age, education, health litracy of communication, health litracy of self-management and prevention behaviors of COVID-19 were all significantly affected with COVID-19 infection (p-value < 0.05). The findings provide recommendations to promoting health literacy and disease prevention behaviors COVID-19 in health organization to improve health volunteers performance. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นกลุ่มบุคลคลด่านหน้าที่สำคัญในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มตัวอย่าง อสม. อำเภอวังเหนือ จำนวน 302 คน และทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี (binary logistic regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.1 อายุเฉลี่ย 51.33 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 76.5 การศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 52.3 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 62.3 ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.53 ปี ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ และการตัดสินใจ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.8 และ 61.6 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสาร การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.0 54.6 55.3 และ 54.3 ตามลำดับ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.1 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการสื่อสาร ด้านการจัดการตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานด้านสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรค เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ อสม. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/941 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64224356.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.