Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/939
Title: A development of the health literacy and health behavior among the social-bond elderly taking risk of dependent elderly in phayao province
การพัฒนาโปรเเกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเเละพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีความเสี่ยงเป็นกลุ่มภาวะพึ่งพิงในพื้นที่จังหวัดพะเยา
Authors: Kamollak Wongnoy
กมลลักษณ์ วงษ์น้อย
somkid Juwa
สมคิด จูหว้า
University of Phayao
somkid Juwa
สมคิด จูหว้า
somkid.ju@up.ac.th
somkid.ju@up.ac.th
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต
Health Literacy Health Behavior Social Support Quality of Life
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract: This mixed-method research (embedded experimental design) aimed to 1) investigate the level of health literacy, health behavior, social support, and quality of life (QoL), 2) develop a program to promote health literacy and health behaviors among socially isolated elderly, and 3) evaluate the program's results.  This research was divided into two phases, as follows: Phase 1: Qualitative and Quantitative Survey, in which community leaders, 17 health leaders, and elderly groups were purposively sampled, and 450 socially bound elderly were randomized by multistage cluster sampling; Phase 2: Development and Evaluation of the Program, in which the sample group was the socially bound elderly with low literacy scores, who were randomly divided into two groups of 30 people each. The tools included in-depth interview questions, community forums, questionnaires, guidelines for after-action reviews, and newly developed programs.  Data were analyzed by using content analysis, descriptive statistics and Two way repeated measures. The results showed that most had fair level of  health  literacy, good level of health behaviors, high level of social, and good level of QoL. The program was established as a health literacy and health behavior program (3E3R) for those with low health literacy, involving 8 weeks and consisting of four activities that included access to health information, promoting knowledge and understanding of health, enhancing communication and self-management skills, enhancing media literacy, and decision-making skills. The researcher employed photonovela techniques, Teach-back Techniques, questioning, self-monitoring, show me, vicarious experiences, mastery experiences, and reinforcement techniques. Following program implementation, the experimental group's mean scores for health literacy, health behaviors (3E3R), social support, and QoL increased considerably (p-value< 0.05). In the control group, however, health literacy, health behaviors (3E3R), and QoL were considerably higher (p-value
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี แบบแผนการทดลองภายในรูปแบบการทดลองระยะเดียว วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต 2) พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีความเสี่ยงเป็นกลุ่มภาวะพึ่งพิง และ 3) ศึกษาผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชน ผู้นำด้านสุขภาพและกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 17 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 450 คน สุ่มแบบ Multistage cluster sampling ระยะที่ 2 การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุติดสังคมที่มีความเสี่ยงเป็นกลุ่มภาวะพึ่งพิง ทำการสุ่มอย่างง่ายในผู้ที่มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามเวทีชุมชน แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต คำถามหลังปฏิบัติกิจกรรม และโปรแกรมที่ถูกพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Two way repeated measures ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี  โปรแกรมที่พัฒนาเป็นโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.3ลด พัฒนามาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ 4 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรม การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเสริมทักษะการสื่อสารและการจัดการตนเอง การเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อและการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยใช้เทคนิคนำเสนอด้วยภาพ การสอนกลับ การใช้คำถาม การเตือนตน แสดงเพื่อตรวจสอบ การเรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น การเรียนรู้ประสบการณ์ที่สำเร็จ และเทคนิคการเสริมแรง ภายหลังนำโปรแกรมไปใช้พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.3ลด การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กลุ่มควบคุมมีเพียงคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.3ลด และคุณภาพชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.3ลด การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ข้อเสนอการนำผลการวิจัยไปใช้หน่วยงานด้านสุขภาพควรประยุกต์และนำผลโปรแกรมไปใช้ในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/939
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64224312.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.