Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/933
Title: | Implementation Achievements of the Moral Community Policy Base on Philosophy of Sufficiency Economy Driven by the Bowon (Home Temple School) Power According to the 1st National Moral Promotion Master Plan(2016-2021):A Case Study of Ban Sri Don Chai Community, Sri Don Chai Subdistrict, Chiang Khong District, Chiang Rai Province ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายชุมชนคุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) ไปปฏิบัติ:กรณีศึกษา ชุมชนบ้านศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย |
Authors: | Ratthanarong Jaikanthar รัฐณรงค์ ใจกันทา VEERA LERTSOMPORN วีระ เลิศสมพร University of Phayao VEERA LERTSOMPORN วีระ เลิศสมพร veera.le@up.ac.th veera.le@up.ac.th |
Keywords: | ผลสัมฤทธิ์ การนำนโยบายไปปฏิบัติ ชุมชนคุณธรรม บวร ชุมชนบ้านศรีดอนชัย Achievement Policy Implementation Moral Community Bowon Ban Sri Don Chai Community |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The objectives of this study were: 1) to elucidate the history of the Ban Sri Don Chai Community, Sri Don Chai Subdistrict, Chiang Khong District, Chiang Rai Province 2) to investigate the factors affecting the achievement of the moral community policy's implementation, and 3) to study the problems and obstacles in driving the moral community policy. This study was qualitative research. It identified groups of key informants by the purposive selection method, amounting to 12 people from 3 groups according to the Bowon principle (home, temple, and school). The results revealed that 1) Sri Don Chai Village is the Tai Lue tribe settlement, the original habitation was in the Xishuangbanna region, south China, and then they migrated across the Mekong River to the present location; Sri Chai Mongkhon, Sri Don Chai, Chiang Khong Chiang Rai Province. 2) Factors Affecting Achievement consisted of driving moral community policies with 3-dimensional activities, the use of Buddhist principles, Sufficiency Economy Philosophy, and Tai Lue culture in the community, and the participation of relevant people from the government, private sector, and community where management drives policy and continuously monitors and evaluates policy-driven results and 3) Problems and obstacles: (1) the budget allocated by the government is insufficient and delayed; and (2) the lack of cooperation among all groups of people in the community การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายชุมชนคุณธรรมฯ ไปปฏิบัติ และ 3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายชุมชนคุณธรรมฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหลักบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) จำนวน 12 รูป/คน ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำพลังบวร ผู้นำกลุ่มอาชีพและปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านศรีดอนชัย เป็นหมู่บ้านที่ชนเผ่าไทลื้ออาศัยอยู่ เดิมมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ ได้ทำการอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านศรีชัยมงคล ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนโยบายชุมชนคุณธรรมฯ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนนโยบายชุมชนคุณธรรมฯ ด้วยกิจกรรม 3 มิติ คือการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักวัฒนธรรมประเพณีไทลื้อของชุมชน การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง และ 3) สภาพปัญหาและอุปสรรค มีดังนี้ (1) งบประมาณที่หน่วยงานภาครัฐจัดสรรให้ไม่เพียงพอและมีความล่าช้า (2) การไม่ได้รับความร่วมมือของคนในชุมชนอย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/933 |
Appears in Collections: | School of Political and Social Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64212926.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.