Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/917
Title: PERFORMANCE MANAGEMENT SCHOOL GROUP IN CHALOEM PHRAKIAT DISTRICTUNDER NAN PRIMARY EDUCATION SERVICES AREA OFFICE 2
การบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
Authors: Onnalin Chaisalee
อรนลิน ไชยสลี
santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
University of Phayao
santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
santi.bu@up.ac.th
santi.bu@up.ac.th
Keywords: การบริหารผลการปฏิบัติงาน
Performance Management
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this study were 1) to study the performance management conditions of Chalerm Phrakiat Group School, Nan Elementary School District Office 2, 2) to study the performance management guidelines of Chalerm Phrakiat Group School. Nan Elementary School District 2 Demographic group of 12 schools, including 12 directors, 120 teachers From the research, Study the performance management conditions of Chalermprakiat District Group School Nan Elementary Education Area Office District 2 The overall picture is very high. It has an average value of (μ = 4.13). When considering each aspect, it was found that the overall operational performance was at a high level (μ = 4.10). Overall operational development was at a high level (μ = 4.10). Overall operational planning was at a high level (μ = 4.12).  Overall, performance monitoring was high (μ = 4.16) and overall performance appraisal was high (μ = 4.17). Study the guidelines for performance management of Chalermprakiat District School Group The Nan Elementary Education Area Office in District 2 found that the performance management of Chalermprakiat District Group schools has 5 aspects, namely operational planning, operational implementation, performance monitoring, performance evaluation, and performance development.  Therefore, Chalerm Group School Performance Management requires cooperation from all sectors of the management in implementing performance and communication skills.
การวิจัยศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 กลุ่มประชากร จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการ จำนวน 12 คน ครู จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาสภาพการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (μ = 4.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10) ด้านการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10) ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.12)  ด้านการติดตามผลการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.16) และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.17) 2) ศึกษาแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 พบว่า การบริหาร ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติมี 5 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน ด้านการดำเนินการปฏิบัติงาน ด้านการติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและ ด้านการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน เนื่องด้วยพื้นที่ของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในพระราชดำริ การบริหาร ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มอำเภอเฉลิมจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของผู้บริหารในการดำเนินผลการปฏิบัติงานและทักษะการสื่อสาร
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/917
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64205502.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.