Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/879
Title: A STUDY OF CONDITION THE USE OF THE CURRICULUM EARLY INTERVENTIONCHILDREN WITH SPECIAL NEEDS OF SCHOOL ADMINISTRATOR THE NETWORKPROMOTE EFFICIENCY OF SPECIAL EDUCATION CENTER GROUP 8
การศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8
Authors: Chawalit Kunthiya
ชวลิต กันธิยะ
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
University of Phayao
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
natthawut.sa@up.ac.th
natthawut.sa@up.ac.th
Keywords: หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8
Curriculum Early Intervention Children With Special Need
Special Education Center
Special Education Bureau
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: A study of condition the use of the curriculum early intervention for children with special needs in school administrators have the objectives 1) to study of condition the use of the curriculum early intervention for children with special need of school administrators 2) to compare conditions in the use of the curriculum early intervention children with special needs of school administrators according to educational degree and work experience. The sample was the administrators and teachers of schools  administrator in the network promote the efficiency of Special Education Center group 8 under Special Education Bureau 248 persons. The instruments used in this study were five-level rating scale the data were analyzed by descriptive statistics including percentage, frequency average, standard deviation, t-test (Independent Samples) and inferential statistics: One-Way ANOVA, analysis of variance. "Scheffe" method. The results of the study found 1) condition the use of the curriculum early intervention for children with special the need of school administrators, overall is the highest levels. Considering in orders, the highest mean to the lowest one was as follows: developmental assessment , making an experience plan , Management of environment, media , and learning resources 2) The comparison of conditions of the use of the curriculum early intervention for children with special need of school administrators according to the educational degree was not different but the comparison of condition the use of the curriculum early intervention for children with special needs by school administrators according to work experiences differed statistically at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิศษ ประจำจังหวัด กลุ่มเครือข่ายส่งประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 248 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของประชากรในแต่ละศูนย์ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่า (t-test), (F-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเทียบโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินพัฒนาการ รองลงมา ด้านการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ตามลำดับ และส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/879
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64205063.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.