Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/872
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN THE LEADERSHIP BEHAVIOR OF SCHOOLADMINISTRATORS AND PERFORMANCE MOTIVATION OF TEACHERSIN SCHOOLS UNDER THE LOCAL GOVERNMENT OF NAN PROVINCE
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่าน
Authors: Kamonthip Deepinta
กมลทิพย์ ดีปินตา
Wannakorn Phornprasert
วรรณากร พรประเสริฐ
University of Phayao
Wannakorn Phornprasert
วรรณากร พรประเสริฐ
praewphornprasert@gmail.com
praewphornprasert@gmail.com
Keywords: พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่าน
motivation
Teacher
The Local Government of Nan Province
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the leadership behavior of school administrators under under the Local Government of Nan province; 2) to study the performance motivation of teachers; and 3) to study the relationship between the leadership behavior and performance motivation of teachers.The sample consisted of 130 teachers in schools, The employed research instrument was a rating scale questionnaire dealing with the leadership behavior of the school administrators and performance motivation of teachers . The statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation. The research findings were as follows: 1) The overall leadership behavior of school administrators under the Local Government of Nan province were rated at the high level. Classification according to each aspect, it was found that the initiating structure behavior and consideration behavior were rated at the high level. 2) The overall motivation level in performing work of teachers in schools under Nan Provincial Administrative Organization were rated at a high level. Classification according to motivation factors by ordering average value from highest to lowest – working achievement, responsibility, characteristic of work, honoring, and working progress respectively. Classification according to supporting factors, by ordering average value from highest to lowest – interpersonal relationship, governing, administrative policy, working condition, and benefits respectively. 3) Relationship Between school administrators’ leadership behavior and motivation in working performance positively correlated (r = .751) at the high level which was Statistically significant at the 0.01 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่าน 2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่าน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่านจำนวน 130 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดน่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมผู้นำแบบกิจสัมพันธ์ และพฤติกรรมผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน 2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูทั้งด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยเกื้อหนุน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในการทำงานตามลำดับ และพิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านนโยบายการบริหาร ด้านสภาพการทำงานและด้านผลประโยชน์ตอบแทน ตามลำดับ และ 3) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในระดับสูง (r = .751) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/872
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64204983.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.