Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/835
Title: | MOTIVATION AFFECTING PERFORMANCE EFFICIENCY OF TEACHERS FANG DISTRICT UNDER CHIANGMAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 |
Authors: | Nunnapat Sintopterachat นันท์นภัส สินธพธีรฉัตร Namfon Gunma น้ำฝน กันมา University of Phayao Namfon Gunma น้ำฝน กันมา numfon.gu@up.ac.th numfon.gu@up.ac.th |
Keywords: | ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู แรงจูงใจ The Teacher Performance The Motivation |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to study the level of teachers' performance motivation, 2) to study the level of teacher performance, 3) to study the relationship between motivation and teacher performance, and 4) to study the motivation factors that affect the performance of teachers in Fang District under the Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3. The sample group was teachers in Fang District. under the office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 3, a total of 234 students by stratified random sampling according to the size of the school. The tool used for data collection was a 5-level estimation questionnaire. The result of the analysis was to find the index of consistency (IOC). The motivation and the performance efficiency of teachers in Fang District was equal to 1.00 for all items and find the alpha coefficient (Alpha Coefficient) confidence value on both sides The motivation of teachers in Fang District was equal to 0.88 and the performance efficiency of teachers in Fang was equal to 0.90. Statistics used in data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. Pearson' Product Moment Correlation Coefficient and Regression Analysis.
The results of the research were as follows: 1) the level of motivation for the performance of teachers in Fang District, under the Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 3, the overall motivation factor was at a high level, and the overall supporting factor was at a high level; 3) The relationship between motivation and performance efficiency of teachers in Fang District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 was at a high level. under the Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 3 had a positive relationship with statistical significance at the 0.01 level, which was consistent with the hypothesis set. Overall, the correlation was at a moderate level. 4) Motivation factors affecting the performance of teachers in Fang District under the Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 3 were 2 factors: 1) the characteristics of Job 2) Job Responsibilities As the following forecast The forecasting equation in raw score form Ŷ = 0.40 + .64 (X3) + .40 (X4) and the forecasting equation in standard score form Ẑ = .64 (X3) + .39 (X4). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพที่ในการปฏิบัติงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในอำเภอฝาง ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 รวมทั้งหมด 234 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ด้านแรงจูงใจของครูและด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ค่าความเชื่อมั่นทั้งสองด้าน ด้านแรงจูงใจของครู อำเภอฝาง เท่ากับ 0.88 ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปัจจัยจูงใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกค่า ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยของแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ทั้ง 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ลักษณะของงาน 2) ความรับผิดชอบในงาน ดังสมการณ์พยากรณ์ต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = 0.40 + .64 (X3) + .40 (X4) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑ = .64 (X3) + .39 (X4) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/835 |
Appears in Collections: | School of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64170255.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.