Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/814
Title: A STUDY OF THE STATE EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATION UNDERTHE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY OF RAJAPRAJANUKHRO 24 SCHOOLPHAYAO PROVINCE UNDER THE OFFIC OF SPECIAL EDUCATION ADMINISTRATION
ศึกษาสภาพการดำเนินงานบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Authors: Nawapon Khombang
นวพล คมบาง
Watchara Jatuporn
วัชระ จตุพร
University of Phayao
Watchara Jatuporn
วัชระ จตุพร
watchara.ja@up.ac.th
watchara.ja@up.ac.th
Keywords: สภาพการดำเนินงานบริหารสถานศึกษา, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Conditions operation of educational institutions Sufficiency economy philosophy
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this research was to study and make additional recommendations on the state of educational institution administration under the Sufficiency Economy Philosophy of Rajaprajanukroh 24 School, Phayao Province, under the Office of Special Education Administration. The sample groups used in this research were educational institute committees, administrators and teachers, including 100 members of the group. The confidence value was 0.91. The statistics used in the data analysis were percentage, mean and standard deviation.  The results of the research were as follows: 1) The status of educational institution administration under the Sufficiency Economy Philosophy of Rajaprajanukroh 24 School, Phayao Province under the Office of Special Education Administration. and curriculum development and learning activities, respectively. In terms of educational institution management 2) Additional recommendations on educational institution management found that the most answer was that educational institutions should be used in management. Encourage activities related to learning resources Educational institutions are managed using the principles of the Sufficiency Economy Philosophy.                                                    The results of the follow-up will be used to develop work plans, projects, academic activities that promote the integration of the philosophy of sufficiency economy into teaching and learning. Regarding curriculum development and learning activities, it was found that the most answer was to prepare a report on the evaluation results of the integrated teaching and learning activities. Philosophy of Sufficiency Economy in every group of learning subjects for learners to know Regarding student development activities, it was found that the most answered was an educational establishment that allows learners to use it in daily life. Activities that let students know saw and acted The principles of Sufficiency Economy Philosophy are inserted in teaching and learning activities, learner development activities. There is a work plan to promote student activities to be sufficient and there is a guideline which is to organize a meeting to share opinions in the preparation of the work plan. activities throughout the semester and in accordance with the geography, society and context of the school In terms of personnel development, it was found that the most answered was that educational institutions encourage savings. inspire There are learning resources that are ready to help. Educational institutions. both in teaching and living activities Organize activities to promote life and performance of duties according to the philosophy of sufficiency economy for personnel of educational institutions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร และครู รวมทั้งสิน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                                                               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงานพัฒนาบุคลากร รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ข้อที่ตอบมากที่สุด คือ สถานศึกษาควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมีแหล่งเรียนรู้ สถานศึกษามีการบริหารจัดการโดยใช้หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำผลการติดตามไปพัฒนาแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ข้อที่ตอบมากที่สุด คือ จัดทำรายงานผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับทราบ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ข้อที่ตอบมากที่สุด คือ สถานศึกษาให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตจำวัน กิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้รู้ ได้เห็นและลงมือทำ มีการสอดแทรกหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีแผนงานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียงมีแนวทาง คือ จัดประชุมเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผนงาน กิจกรรมตลอดภาคการศึกษาและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมและบริบทของสถานศึกษา และด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า ข้อที่ตอบมากที่สุด คือ สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการออม สร้างแรงบันดาลใจ มีเเหล่งเรียนรู้ที่พร้อมให้การช่วยเหลือ สถานศึกษามีการบริหารโดยส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้ดำเนินชีวิตโดยใช้หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ทั้งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิต จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรของสถานศึกษา
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/814
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63204319.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.