Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/811
Title: | THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES USING THE MACRO MODEL WITH THE LESS–CONTROLLED WRITING TECHNIQUES TO IMPROVE GRADE 8 STUDENTS' ENGLISH WRITING AND RETENTION OF ENGLISH WRITING การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้ด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Authors: | Umaporn Apichai อุมาพร อภิไชย Ketsaraphan Punsrigate เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ University of Phayao Ketsaraphan Punsrigate เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ ketsaraphan.kh@up.ac.th ketsaraphan.kh@up.ac.th |
Keywords: | รูปแบบ MACRO model, เทคนิคการเรียนเขียนแบบกึ่งควบคุม, การเขียนภาษาอังกฤษ, ความคงทนในการเรียนรู้ the MACRO model Less-controlled writing Technique English Writing Skills retention |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The objectives of this research were to 1) develop learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique, 2) compare writing skills before and after being taught by learning activities using the MACRO model with less-controlled writing techniques, 3) compare English writing ability after being taught by learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique at the criteria of 70 percent, and 4) compare students’ retention of English language learning after 3 weeks of being taught with the learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique. The samples were 22 eighth-grade students enrolling in the first semester of the academic year 2022 at Sansai (Phrommaniwittaya) School, Chiang Rai. The Simple random sampling technique was used for selecting the samples. The research instruments were 1) fifteen lesson plans using the MACRO model with the less-controlled writing technique, 2) the English writing skills test including 30 objective test items, and 3) the subjective test of English writing ability. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results were 1) the effectiveness Index (E.I.) of learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique was 0.7101 or 71.01 percent, 2) the students’ writing skills from the objective test after being taught by learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique were higher than before studying at the statistically significant level of .05, 3) the average score of students’ English writing ability from the subjective test after being taught by learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique was higher than the criteria of 70 percent and 4) the student’s retention of English Writing immediately and 3 weeks after being taught with the learning activities using the MACRO model with the less-controlled writing technique did not show the difference at the statically significant level and was higher than the criteria of 70 percent. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมเมื่อผ่านไปแล้ว 3 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสันทราย (พรหมณีวิทยา) จังหวัดเชียงราย จำนวน 22 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษแบบอัตนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.7101 หรือ ร้อยละ 71.01 2) ทักษะการเขียนของนักเรียนจากแบบทดสอบปรนัยหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนเฉลี่ยโดยรวมของความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนจากแบบทดสอบอัตนัยหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ความคงทนในการเรียนรู้ด้านการเขียนภาษาอังกฤษเฉลี่ยหลังเรียนทันที และหลังเรียนเมื่อผ่านไป 3 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/811 |
Appears in Collections: | School of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63170489.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.