Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/769
Title: | THE APPROACH OF THE ACADEMIC ADMINISTRATION OF TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT WITH SCHOOL-BASED MANAGEMENT IN EXTENDED SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF CHONBURI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 3 แนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 |
Authors: | Songkran Ngomsakhoo สงกรานต์ งอมสระคู Somsak Aeamkongsee สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี University of Phayao Somsak Aeamkongsee สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี somsak.ae@up.ac.th somsak.ae@up.ac.th |
Keywords: | แนวทางการบริหารวิชาการ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา Academic Administration Approach School-Based Teaching and Learning Management Extended School |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aimed to 1) study the current and expected conditions of academic administration in teaching and learning management using school-based management in extended schools under the Office of Chonburi Primary Education Service Area 3, and 2) explore the academic administration approaches in teaching and learning management using school-based management in these extended schools. The sample group consisted of 336 school administrators and teachers. The data collection tools were a 5-point Likert scale questionnaire and open-ended questions, with a Cronbach's Alpha reliability coefficient of 0.975. Data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, and priority need index.
The findings revealed that 1) the overall current condition of academic administration in teaching and learning management using school-based management was high, particularly in teaching operations, followed by administrative operations of teaching management. The expected condition was found to be highest in the development of teaching media and technology, followed by preparation for teaching, and measurement and evaluation of teaching. The analysis of the priority need index showed that the highest priorities were preparation for teaching management and development of teaching media and technology, followed by measurement and evaluation of teaching. 2) The necessary approaches for academic administration included: 2.1) Preparation for teaching management, suggesting that schools should inform and create understanding among parents about the process of developing and improving learning activities. 2.2) Development of teaching media and technology, emphasizing that schools should enhance clarity in media and technology development and promote teachers' knowledge and skills in using technology. 2.3) Measurement and evaluation of teaching, recommending that schools establish clear policies and guidelines for measuring and evaluating teaching, and develop effective assessment tools. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการดำเนินการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานธุรการของการจัดการเรียนการสอน สำหรับสภาพที่คาดหวังพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยี รองลงมา คือ ด้านการเตรียมการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการสอน เมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านการเตรียมการจัดการสอนและด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยี มีความสำคัญสุงสุด รองลงมาคือด้านการวัดและประเมินผลการสอน 2) แนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่ามีความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรกคือ 2.1) ด้านการเตรียมการจัดการสอน พบว่า สถานศึกษาควรประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ 2.2) ด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยี พบว่า สถานศึกษาควรพัฒนาสื่อการสอนและเทคโนโลยีให้ชัดเจน ส่งเสริมให้ครูมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี และ 2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการสอน พบว่า สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายและแนวทางการวัดและประเมินผลการสอนที่ชัดเจน พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/769 |
Appears in Collections: | School of Management and Information Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63160073.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.