Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/767
Title: The Self-Reliance and Adaptability Administrative Model of the Juveniles in Juvenile Detention Homes, Department of Juvenile Observation and Protection.
รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Authors: Chatchapapong Thaipetkul
ชัชปพงศ์ ไทยเพชร์กุล
Kosol Meekun
โกศล มีคุณ
University of Phayao
Kosol Meekun
โกศล มีคุณ
kosol.me@up.ac.th
kosol.me@up.ac.th
Keywords: รูปแบบการบริหารการพัฒนา
การพึ่งตนเอง
การปรับตัว
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Administrative Model
Self-Reliance
Adaptability
Juvenile Detention Homes
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of the research were: 1) to study the causal factors of self-reliance and adaptability behaviors of the Juveniles in Juveniles Detention Homes 2) to study the development model of self-reliance and adaptabllity  of the Juveniles in Juveniles Detention Homes, and 3) to study the  administrative model of the Juveniles’ self-reliance and adaptability  in Juveniles Detention Homes.The research methodology were quantitative  together with qualitative  method. The samples were 231 juvenile in the Juveniles Detention Homes obtained by cluster sampling. The research tools were sets of 11 summated rating scale  with 4-7 items, items'discreimination(r) were between .222 up to .643,  reliabilities were .443 - .788. The data were analyzed with descriptive, inferential statistics, and content analysis. The research findings were 1) Social situation factors, psychological traits factors and psychological state factors could explain Juveniles’ self-reliance and adaptability  in Juveniles Detention Homes for more than 38.3 percentage. 2) It was found that juveniles living with relative and grandparents  should be developed at first, by being raised with appropriate method 3) The Juveniles’ self-reliance and adaptability development model was  fit with the empirical data. And 4) the administrative model for the development of Juveniles’ self-reliance and adaptability assessed by the experts was practical, with the average rating for aspects were between 86.19-94.52 percentage, while the total was 89.46 percentage which was higher than the criteria 70/75 percentage.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งดำเนินการด้วยการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจำนวน 231 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นเครื่องมือวัดตัวแปรเป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า จำนวน 11 แบบวัด แต่ละแบบวัดมีจำนวน 4 ข้อถึง 7 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ .222 ถึง .643 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .443 ถึง .788 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน สถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางสังคม ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ร่วมกับปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์สามารถอธิบายพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ร้อยละ 38.3  และพบว่าเด็กและเยาวชนซึ่งอาศัยกับปู่ย่าตายายหรือพี่น้องเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาก่อน โดยปัจจัยสำคัญที่ควรปรับปรุงส่งเสริมคือการอบรมเลี้ยงดู รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ รูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่สร้างขึ้นมีความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมเท่ากับ 86.19 ถึง 94.52 และ 89.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 75 ตามลำดับ
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/767
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62160252.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.