Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/761
Title: FACTORS AFFECTING THE SUCCESS OF DUAL EDUCATION SYSTEM MANAGEMENT IN THE SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL AREA OFFICE BANGKOK 2
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Authors: Tharinya Wajasuwan
ธรินทร์ญา วจะสุวรรณ
Sakchai Nirunthawee
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
University of Phayao
Sakchai Nirunthawee
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
sakchai.ni@up.ac.th
sakchai.ni@up.ac.th
Keywords: ปัจจัยความสำเร็จ
ความสำเร็จของการจัดการศึกษา
ทวิศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Success Factors
The success of Dual Education Administration
The Secondary Educational Area Ofiice Bangkok 2
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract:        The purposes of this research were to study (1) factors relating to the success of dual education management in the senior high schools under the secondary educational area office Bangkok 2, (2) the correlation between the factors and the success of dual education management. (3) the weight of factors affecting the success of dual education management. The study used quantitative research methodology. The samples used in the study consisted of 214 teachers who were in charge of the dual education project in the secondary schools under the secondary educational area office Bangkok 2 by means of simple random sampling. The instrument used for the data collection was a set of five rating scale questionnaires. The statistics utilized in analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, multiple correlation by analyzing the Pearson product-moment correlation coefficient, and multiple linear regression analysis (stepwise regression).           The results of the research revealed that:  1) Factors relating to the success of dual education management in the senior high schools under the secondary educational area office Bangkok 2 consisted of internal factors containing participation in education management, vocational training, learner development, organization of structure administration, academic administration, and personnel management, and external factors containing economic conditions and job opportunities, and family condition. 2) The internal factors consisting of organization of structure administration , academic administration , personnel management , vocational training , learner development , and participation in education management and the external factors consisting of economic conditions and job opportunities , as well as family condition were positively correlated with the success of dual education management at .01 statistical significance. 3) The internal factors consisting of organization of structure administration , academic administration , personnel management , and participation in education management  and the external factors containing economic conditions and job opportunities were the factors influencing and jointly predicting the success of dual education management at 92.80%.They could be written in the form of the raw score equation and the standard equation, respectively: Y^=2.633+0.513(X1)-0.444(X6)+0.402(X7)+0.208(X3)-0.212(X2) and Z^=0.951(X1)-0.634(X6)+0.448(X7)-0.307(X2)+0.417(X3).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 (2) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษา (3) เพื่อศึกษาน้ำหนักของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษา  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการทวิศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวนทั้งหมด 214 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า  1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การฝึกอาชีพ การพัฒนาผู้เรียน การจัดระบบโครงสร้างการบริหาร การบริหารงานวิชาการ การบริหารบุคลากร และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจและโอกาสในการทำงาน และสภาพครอบครัว 2) ปัจจัยภายในซึ่งประกอบด้วย การจัดระบบโครงสร้างการบริหาร การบริหารงานวิชาการ การบริหารบุคลากร การฝึกอาชีพ การพัฒนาผู้เรียน การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และปัจจัยภายนอกซึ่งประกอบด้วย สภาพเศรษฐกิจและโอกาสในการทำงาน และสภาพครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ปัจจัยภายในซึ่งประกอบด้วย การจัดระบบโครงสร้างการบริหาร การบริหารงานวิชาการ การบริหารบุคลากร และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และปัจจัยภายนอก อันได้แก่ สภาพเศรษฐกิจและโอกาสในการทำงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลและร่วมกันทำนายความสำเร็จของการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาได้ร้อยละ 92.80  โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและในรูปคะแนนมาตรฐานได้ตามลำดับ ดังนี้ Y^= 2.633 + 0.513(X1) - 0.444(X6) + 0.402(X7)+ 0.208(X3) - 0.212(X2) และ Z^ = 0.951(X1) - 0.634(X6) + 0.448(X7) - 0.307(X2) + 0.417(X3)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/761
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162242.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.