Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/757
Title: An Approaches of Thai Food Business Management for Promoting Gastronomy Tourism Among Senior Citizens in Bangkok
แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจอาหารไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารผู้สูงอายุชาวไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Kosin Panyaem
โกสินทร์ ปานแย้ม
Chawalee Na thalang
ชวลีย์ ณ ถลาง
University of Phayao
Chawalee Na thalang
ชวลีย์ ณ ถลาง
chawalee.na@up.ac.th
chawalee.na@up.ac.th
Keywords: ผู้สูงอายุ
ธุรกิจอาหารไทย
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Senior Citizens
Thai Food Business
Gastronomy Tourism
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research study were: 1) to study the demographic factors that correlated with Thai elderly eating out behaviour in Bangkok 2) to study the different demographic characteristics and eating behaviours affecting the decisions of Thai elderly people eating Thai foods outside of their homes in Bangkok with 7P's marketing strategies 3) to study the management process of Thai food businesses for promoting food tourism for Thai elderly in Bangkok 4) to study the concept of food tourism for Thai elderly in Bangkok 5) to study the design Thai food menu for promoting food tourism for Thai elderly people in Bangkok and 6) to design a management approach for Thai food businesses to promote food tourism for Thai elderly people in Bangkok. The mixed research methods are selected by the parallel studies of both quantitative and qualitative analysis methods. For quantitative research, data were collected using questionnaires distributed to 414 Thai elderly tourists in Bangkok. For the qualitative aspect, in-depth interviews with 24 stakeholders such as government representatives, private sector representatives and academicians.  The results of data analysis, quantitative research and data synthesis of qualitative research were used to conduct in focus group discussions. The results were presented as guidelines for management of Thai restaurant business for the elderly to promote food tourism in Bangkok. The findings revealed that 1) demographic characteristics were related to Thai out-of-home elderly people's eating habits. It was discovered that eating habits change significantly depending on the stage of aging. 2) There was a high level of correlation for all 7 factors, with the physical factor having the highest mean. 3) The management process of Thai restaurants that promote food tourism for the elderly consisted of 5 aspects: business feasibility assessment, shop decoration and design, location selection, service, and market planning. 4) Guidelines for food tourism management consist of 3 aspects: the story of food, activities to promote food tourism, and sustainability. 5) Thai menus suitable for the elderly There are three components: menu planning and design, nutritional value, and medicinal properties. 6)  Lastly, researcher proposes a management approach for Thai food businesses to promote food tourism for Thai elderly people in Bangkok with the term “SIMPLICITY”.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรับประทานอาหารไทยนอกบ้านของผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมรับประทานอาหารที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจรับประทานอาหารไทยนอกบ้านของผู้สูงอายุในด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการธุรกิจอาหารไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสําหรับผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารสําหรับผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาการออกแบบเมนูอาหารไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสําหรับผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร 6) เพื่อออกแบบ แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจอาหารไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสําหรับผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร จํานวน 414 คน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน และนักวิชาการ จํานวน 24 คน โดยนําผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณและผลการสังเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพมาดําเนินการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) สรุปผลนําเสนอเป็นแนวทางบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารไทยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรณ์ศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรับประทานอาหารไทยนอกบ้านของผู้สูงอายุ พบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงอายุของผู้สูงอายุ 2) ลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมรับประทานนอกบ้านของผู้สูงอายุมีผลกับด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps โดยมีระดับค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์ระดับมากทั้ง 7 ปัจจัย โดยปัจจัยด้านกายภาพมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3) กระบวนการจัดการร้านอาหารไทยที่ส่งเสริมการการท่องเที่ยวเชิงอาหารสำหรับผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 ด้านคือ การประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การออกแบบตกแต่งร้าน การเลือกทำเลที่ตั้ง การบริการ และการวางแผนตลาด 4) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารประกอบด้วย 3 ด้าน คือเรื่องราวของอาหาร กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และความยั่งยืน 5) เมนูอาหารไทยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมี 3 ด้านประกอบคือ การวางแผนและออกแบบเมนู คุณค่าทางโภชนาการสรรพคุณทางยา และด้านกรรมวิธีในการปรุง 6) ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจอาหารไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสําหรับผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานครด้วยคำว่า SIMPLICITY
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/757
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162130.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.