Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/734
Title: THE EFFECTS OF MNEMONICS STRATEGIES ON ENGLISH VOCABULARY KNOWLEDGE OF MATTAYOMSUKSA 1 STUDENTS
ประสิทธิผลของกลยุทธ์ช่วยจำในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Watchareeporn Wiangsamut
วัชรีพร เวียงสมุทร
Chittima Kaweera
จิตติมา กาวีระ
University of Phayao
Chittima Kaweera
จิตติมา กาวีระ
chittima.ka@up.ac.th
chittima.ka@up.ac.th
Keywords: กลยุทธ์ช่วยจำ
ความคิดเห็น
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
Mnemonics Strategies
opinions
English Vocabulary
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of the research were to 1) compare pretest score and posttest score after learning English vocabulary by using Mnemonics Strategies of Mattayomsuksa 1 students and 2) study opinions of Mattayomsuksa 1 students after learning English vocabularies by using 4 Mnemonics Strategies. The samples were all of 16 Mattayomsuksa 1 students, selected by purposive sampling method. The instruments of this research were 1) Mnemonics Strategies learning plans that consist of Physical Mnemonics, Keyword Mnemonics, Method of Loci Mnemonics, and Story Mnemonics. 2) English vocabulary learning pretest and posttest, and 3) semi-structured interview. The statistics used for quantitative data analyzing were mean, standard deviation, t-test, the qualitative data analysis was content analysis. The findings were as follows: 1) The posttest mean scores of Mattayomsuksa 1 students were higher than those of the pretest scores with the statistical significance level of .05. 2) After learning English vocabulary by using 4 Mnemonics Strategies showed that students liked the activities and students found that the activities were beneficial to memorizing words, were fun, happy, strange, and easy to understand words. Furthermore, students could also use the memorizing strategies to memorize words and content in other subjects such as Thai, Social Studies, Computer and History. Finally, students gained additional skills such as reading skills, listening skills, speaking skills.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการการเรียนโดยใช้ กลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดจำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์ช่วยจำทั้ง 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ช่วยจำแบบร่างกาย กลยุทธ์ช่วยจำแบบคำสำคัญ กลยุทธ์ช่วยจำแบบโลไซ และกลยุทธ์ช่วยจำแบบเรื่องราว 2) แบบทดสอบความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกลยุทธ์ช่วยจำทั้ง 4 กลยุทธ์ พบว่า นักเรียนมีความรู้สึกชอบกิจกรรมดังกล่าว และมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการจดจำคำศัพท์ มีความสนุกสนาน มีความสุข มีความแปลกใหม่ และง่ายต่อการทำความเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถนำกลยุทธ์ช่วยจำแบบต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในการจดจำคำศัพท์และเนื้อหาในรายวิชาอื่น คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์ และประวัติศาสตร์ และสุดท้ายนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มเติม คือ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/734
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63113879.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.