Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/72
Title: MODEL OF EDUCATIONAL MANAGEMENT FOR DEVELOPING EDUCATIONAL QUALITY OF PRIVATE HIGHER EDUCATION INSTITUTES
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Authors: Chakkaphan Chaithat
จักรพันธ์ ชัยทัศน์
Sopa Umnuayrat
โสภา อำนวยรัตน์
University of Phayao. School of Education
Keywords: รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา, คุณภาพการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Model of Educational Management Educational Quality Private Higher Education Institutes
Issue Date:  24
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research has a purpose that was to developing the model of educational management for developing educational quality of private higher education institutes. The research design consisted of 4 phases. In phase 1, a study of factor of educational management for developing educational quality of private higher education institutes by using a confirmatory factor analysis with the samples were 630 executives and lecturers in private higher education institutes. In phase 2, a study of factor and management process of educational management for developing educational quality of private higher education institutes by Interviewing 9 specialists. In phase 3, developing a model of educational management for developing educational quality of private higher education institutes, and checking its appropriateness of model through focus group discussion with 9 experts. In phase 4, evaluation of the usefulness and possibility of model through connoisseurship with 9 known group. The research findings showed that :1) Factors of educational management for developing educational quality of private higher education institutes has structural validity and consistency fitted the empirical data considering from its value as Chi-square = 5734.435, Degrees of Freedom = 3723, Chi-square/Degrees of Freedom = 1.540, Comparative Fit index (CFI) = 0.970, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.035, Root Mean Square Error of Approximate (RMSEA) = 0.032 2) The model of educational management for developing educational quality of private higher education institutes is appropriate with 6 components including ; (1) principles (2) purpose (3) operation mechanism (4) management process (5) evaluation and (6) key success factor, 3) The model of educational management for developing educational quality of private higher education institutes has high possibility according to the experts. And 4) The result of evaluation of the model of educational management for developing educational quality of private higher education institutes has high feasibility and utility and was at a high level in general according to the known group.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและคณาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 630 คน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง การบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้รูปแบบฯ จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความตรงเชิงโครงสร้างและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่า Chi-square = 5734.435, Degrees of Freedom = 3723, Chi-square/Degrees of Freedom = 1.540, Comparative Fit Index (CFI) = 0.970, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.035, Root Mean Square Error of Approximate (RMSEA) = 0.032  2) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบที่ 3 กลไกในการดำเนินการ องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล และ องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนมีความเหมาะสม และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยผู้ใช้รูปแบบฯ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาพรวมมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D. ( Educational Administration))
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/72
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57370136.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.