Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/703
Title: Yield Potential of Field Corn Hybrids Grown in the Upper NorthernProvince Zone 2: Chiang Rai, Phayao, Phrae and Nan
ศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เขต2: จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน
Authors: Warawuth Kaewkong
วราวุฒิ แก้วก๋อง
Bunyarit Sinkangarm
บุญฤทธิ์ สินค้างาม
University of Phayao
Bunyarit Sinkangarm
บุญฤทธิ์ สินค้างาม
bunyarit.si@up.ac.th
bunyarit.si@up.ac.th
Keywords: ข้าวโพดเลี้ยงเลี้ยงสัตว์ลูกผสม ผลผลิต อายุสั้น
Field corn hybrids Yield trial Early maturity
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract: Yield potential of field corn hybrids grown using germplasm from University of Phayao Maize Improvement; UPMI. Where conducted growing two seasons (dry and rainy) between 2021 – 2022. The objective of this experiment was to develop early field corn hybrids with yield potential and adaptability to the environment in the upper northern province zone 2: Chiang Rai, Phayao, Phrae and Nan. The experimental design was Randomized Complete Block with 2-row plot of 5 meters, 4 replications and 75 x 20 centimeters spacing. The result showed that five crosses with the highest yield were Ki 45 x UPFC066, UPFC052 x Nei582016, UPFC089 x Nei462013, Kei 1421 x UPFC019 and UPFC045 x Nei542010 (1,163 1,067 1,035 1,014 and 960 kg/rai, respectively), while the five check varieties with the highest yield were DK7212C, CP 301, NS5, DK9979C and NS3 (1,113 1,084 1,035 1,032 and 966 kg/rai, respectively), The average moisture content of the hybrid crosses was 23.8%, but was 25.2% for the check varieties, suggesting that the hybrids in this experiment were harvested early, there elite hybrids will select for one to two varieties for the demonstrating , those are launching to plant varieties protective registration.
การพัฒนาศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม โดยใช้เชื้อพันธุกรรมข้าวโพดมาจาก “โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยา”  ได้ดำเนินการทดสอบฤดูแล้ง ปี 2021 จำนวน 47 คู่ผสมและ ฤดูฝน ปี 2022 จำนวน 25 คู่ผสม เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นผลผลิตสูง และปรับตัวในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน: เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ขนาดแปลงย่อย ยาว 5 เมตร โดยการปลูกจำนวน 2 แถว/พันธุ์ พันธุ์ละ 4 ซ้ำ ใช้ระยะปลูก 75 x 20 เซนติเมตร พบว่า คู่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับแรก คือ Ki 45 x UPFC066, UPFC052 x Nei582016, UPFC089 x  Nei462013, Kei 1421 x UPFC019 และ UPFC045 x  Nei542010 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,163 1,067 1,035 1,014 และ 960 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ DK7212C, CP301, NS5, DK9979C และ NS3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,113 1,084 1,035 1,032 และ 966 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และยังพบว่าความชื้นของคู่ผสมเฉลี่ยอยู่ที่ 23.8 % ในขณะที่ความชื้นของพันธุ์เปรียบเทียบเฉลี่ยอยู่ที่ 25.2 % ความชื้นของคู่ผสมต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในงานทดลองมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น จากผลการทดลองจะทำการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพผลผลิตและปรับตัวได้ดีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนให้เหลือ 1-2 พันธุ์ เพื่อทำการปลูกแปลงสาธิต และปลูกทดสอบเพื่อขอรับการคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไป
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/703
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010932.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.