Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/69
Title: Tourism Development Guidelines by Baan Thakhanthong CommunityChiang Saen District, Chiang Rai Province
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทองอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
Authors: Rattana Boonlert
รัตนา บุญเลิศ
Suriya Somchan
สุริยา ส้มจันทร์
University of Phayao. School of Management and Information Sciences
Keywords: การท่องเที่ยวโดยชุมชน , เชียงราย , บ้านท่าขันทอง
Baan Thakhantong Community Based Tourism Chiangrai
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aims to 1. To study the current community tourism situation of Ban Tha Khan Thong, Tambon Ban Saew, Amphoe Chiang Saen. 2. To study the satisfaction of Thai tourists towards tourism by Ban Tha Khan tong community, Tambon Ban Saew, Amphoe Chiang Saen. 3.To study the development of tourism by Ban Tha Khan than community, Tambon Ban Saew, Amphoe Chiang Saen. Chiang Rai province Qualitative Research and Quantitative Research Population and sample: There were 11 stakeholders in the community and 3,801 tourists. The sample size was 362 persons. Data were collected from semi-structured interview and questionnaire. By analytical methods the results of the research indicate that in the past, Ban Tha Khan Thong community has been developed homestay standards, has been homestay standard, has a team to study continuously with the management. Ban Saew Sub-district be a coordinator between tourists and the community. Later, there was a problem of distribution management. Failure to comply with the membership agreement. And the development of community without analysis around. Nowadays, members split up and set up a new group. Homestay and Travel by Ban Tha Khan tong Community. Lack of good management, lack of vision, strategies to set clear guidelines for tourism development. Lack of links to tourism networks. Lack of publicity the development of identity products. External Audit System Systematic storage financial system revenue distribution. According to the study, most of the tourists are female. Come to the seminar to see the work. Satisfied level Attraction is the most scenic view of the Mekong River. Second, the activities of the community, food, clothing, the unique. Followed by access. At the same time, Ban Tha Khan Thong community is developing its first priority, namely, the management. Manage A good standard is to have a brand that is memorable to communicate with the target audience. It is an element that develops an attraction. Photo by the Mekong River. Water access development Develop water activities. To develop adequate homestay.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในปัจจุบันของบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนจำนวน 11 คน และประชากรนักท่องเที่ยว จำนวน 3,801 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 362 คน มีวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม โดยวิธีการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการศึกษาวิจัยทำให้ได้ทราบสถานการณ์ว่าในอดีตชุมชนบ้านท่าขันทองได้รับการพัฒนามาตรฐานพัฒนาโฮมสเตย์ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยมีคณะมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องโดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแซว เป็นผู้ประสานงานระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชน ต่อมามีปัญหาด้านการจัดการกระจายราย การไม่ปปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิก และการพัฒนาชุมชนที่ไม่มีการวิเคราะห์รอบด้าน ทำให้ปัจจุบันสมาชิกแยกตัวมาตั้งกลุ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2561 ได้ตั้งคณะกรรมการ โฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี เช่น ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ การกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ชัดเจน ขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ขาดการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ ระบบการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ด้านการเงินการกระจายรายได้ที่เป็นระบบ  จากการศึกษาข้อมูลของนักท่องเที่ยวพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เดินทางมาเพื่อประชุมสัมมนาศึกษาดูงาน มีความพึงพอใจระดับ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ที่เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำโขงมากที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรม (Amenities) ชมวิถีชีวิตของชุมชน อาหาร การแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ รองลงมาได้แก่ด้านการเข้าถึง (Accessibilities) ที่มีความสะดวกเข้าถึงง่าย และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ด้านที่พักโฮมสเตย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาการท่างเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทองที่ต้องพัฒนาเป็นอันดับแรกคือด้านการบริหารจัดการ (Administration) ที่ดีมีมาตรฐานดังที่กล่าวมาข้างต้นมีการสร้างแบรนด์ที่ให้เป็นที่จดจำสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นองค์ประกอบที่ใช้พัฒนาจุดดึงดูดใจเช่น จุดถ่ายภาพริมโขง การพัฒนาการเข้าถึงทางน้ำ พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ พัฒนาโฮมสเตย์ให้เพียงพอรองรับนักท่องเที่ยว มีร้านอาหาร ห้องน้ำ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาแบบส่วนตัว และส่งเสริมการจัดการที่ดีโดยเฉพาะการจัดการด้านการเงินทีเป็นธรรมกระจายผลประโยชน์มีกองทุนสำหรับอาชีพในชุมชน  มีการจัดการด้านการตลาดอย่างมีระบบ
Description: Master of Arts (M.A. (Hotel and Tourism Management))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/69
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59170901.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.