Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/673
Title: | VIOLENCE IN SHORT STORIES IN THE FINAL LIST FOR THE B.E. 2560S.E.A. WRITE AWARD ความรุนแรงในเรื่องสั้นที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการตัดสินรอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2560 |
Authors: | Wachirawit Boonta วชิรวิชญ์ บุญทา Watcharin Kaenchan วัชรินทร์ แก่นจันทร์ University of Phayao Watcharin Kaenchan วัชรินทร์ แก่นจันทร์ vajarindra.ka@up.ac.th vajarindra.ka@up.ac.th |
Keywords: | ความรุนแรง เรื่องสั้น รางวัลซีไรต์ Violence Short Story S.E.A. Write Award |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aimed at analyzing the violence appearing in the final 8 short stories of the 2560 B.E. SEA Write award. The violence theory and critical discourse analysis theory were employed in the analysis process. The results indicated that there were two types of violence that appeared in the final 8 short stories of the 2560 B.E. SEA Write awards namely, the single violence and the complex violence. As for the single violence, it was consisted of 1) direct violence which included physical violence, psychological violence, belongings violence, and family violence; 2) structural violence which was comprised of economic violence, political violence, status and role violence, family institution violence, and educational violence; 3) cultural violence which was composed of patriarchal violence, religious belief violence, social belief violence, and birth belief violence. Regarding the complex violence, it was included of 1) cultural violence that leads to direct violence, 2) structural violence that leads to direct violence, 3) cultural violence that leads to structural violence, 4) structural violence that leads to cultural violence, and 5) cultural violence that leads to structural violence that causes direct violence. การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงที่ปรากฏในเรื่องสั้นที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการตัดสินรอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2560 จำนวน 8 เล่ม โดยใช้ทฤษฎีความรุนแรง และวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ มาใช้เป็นกรอบวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงที่ปรากฏใน เรื่องสั้นที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการตัดสินรอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2560 ปรากฏความรุนแรง 2 ลักษณะ คือ ความรุนแรงเดี่ยวและความรุนแรงซ้อน ความรุนแรงเดี่ยว ประกอบด้วย 1) ความรุนแรงทางตรง พบความรุนแรงต่อร่างกาย ความรุนแรงต่อจิตใจ ความรุนแรงต่อทรัพย์สิน และความรุนแรงในครอบครัว 2) ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง พบความรุนแรงทางเศรษฐกิจ ความรุนแรงทางการเมือง ความรุนแรงต่อสถานะและบทบาททางสังคม ความรุนแรงต่อสถาบันครอบครัว และความรุนแรงทางการศึกษา และ 3) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม พบความรุนแรงทางอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ ความรุนแรงต่อความเชื่อทางศาสนา ความรุนแรงต่อความเชื่อทางสังคม และความรุนแรงต่อความเชื่อเรื่องชาติกำเนิด ส่วนความรุนแรงซ้อน ประกอบด้วย 1) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงทางตรง 2) ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงทางตรง 3) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง 4) ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม และ 5) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อเนื่องให้เกิดความรุนแรงทางตรง |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/673 |
Appears in Collections: | School of Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60113898.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.