Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/667
Title: THE EFFECTS OF USING HAIKU POEMS ON STUDENTS’ WRITING ABILITY IN DESCRIPTIVE PARAGRAPH WRITING FOR EFL LEARNERS
ผลของการใช้กลอนไฮกุที่มีต่อความสามารถทางด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนาสำหรับผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
Authors: Monruedee Sarnjai
มนฤดี สารใจ
Sukanya Kaowiwattanakul
สุกัญญา เกาะวิวัฒนากุล
University of Phayao
Sukanya Kaowiwattanakul
สุกัญญา เกาะวิวัฒนากุล
sukanya.ka@up.ac.th
sukanya.ka@up.ac.th
Keywords: กลอนไฮกุ
การเขียนย่อความเชิงพรรณนา
ความสามารถทางด้านการเขียน
Haiku Poems
Descriptive Paragraph Writing
Writing Ability
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of the study were 1) to investigate the effects of using haiku poems on students’ abilities to write descriptive paragraphs, 2) to compare the students’ abilities to write descriptive paragraphs before and after being taught through haiku poems versus the teaching method in the teacher’s manual, and 3) to explore the perceptions of students towards using haiku poems to improve their abilities to write descriptive paragraphs. The sample group consisted of 36 students of Mathayomsuksa 2 students in the second semester of academic year 2021 at Wattaitalad Municipal School, Uttaradit, and they were obtained by lottery simple random sampling. The participants were randomly assigned in the experimental group, taught to write through haiku poems, and the control group, receiving the teacher’s manual of teaching writing. The research design was a quasi-experimental research. The research instruments included (1) a writing ability achievement test, (2) lesson plans using haiku poems, (3) a questionnaire and (4) a semi-structured interview. The quantitative data were analyzed by mean, standard deviation, independent t-test, percentage and paired t-test. The qualitative data from the semi-structured interview were analyzed using content analysis. The results of the research showed that: 1) The mean scores of the writing ability achievements post-tests (Mean = 15.00) of students in the experimental group were significantly higher than the mean scores of the pre-tests (Mean = 6.78). 2) The post-tests (92 mistakes, 25.56%) of students in experimental group for writing descriptive paragraphs displayed fewer language feature and aspect errors overall than the pre-tests (238 mistakes, 66.11%). 3) The post-test mean scores of students in the experimental group (Mean = 15.00) was higher than that of the control group (Mean = 12.17) with the statistical significance of the 0.05 level. 4) The overall mean scores of students’ perceptions on learning descriptive paragraph writing through haiku poems were at the high level and the total mean score was 4.13 out of 5. The results from the semi-structured interviews also indicated that students thought learning haiku poems was beneficial for reducing language feature mistakes and enriching their vocabulary, encouraging creative skills, and improving their aesthetics in descriptive paragraph writing abilities.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้กลอนไฮกุที่มีต่อความสามารถทางด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนา สำหรับผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ 2) เปรียบเทียบความสามารถทางด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนาของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยกลอนไฮกุและการสอนตามคู่มือครู และ 3) สำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการเขียนย่อความเชิงพรรณนาด้วยกลอนไฮกุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบกลอ  นไฮกุ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถาม และ (4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติที่แบบไม่อิสระ และอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนาหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย= 15.00) ของผู้เรียนในกลุ่มทดลอง สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย= 6.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) จำนวนความถี่ของข้อผิดพลาดทางด้านโครงสร้างภาษาในการเขียนย่อความเชิงพรรณนาของผู้เรียนในกลุ่มทดลอง ที่พบหลังเรียน (จำนวนข้อผิดพลาด 92 จุด, 25.56%) น้อยกว่าจำนวนข้อผิดพลาดที่พบก่อนเรียน (จำนวนข้อผิดพลาด 238 mistakes จุด, 66.11%) 3) คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนาของนักเรียนกลุ่มทดลอง (ค่าเฉลี่ย= 15.00) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนาของกลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ย= 12.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการเขียนย่อความเชิงพรรณนาด้วยกลอนไฮกุอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทัศนะคติที่ดีต่อการเรียนการเขียนย่อความเชิงพรรณนาด้วยกลอนไฮกุ โดยเห็นด้วยว่าการเรียนรู้ด้วยกลอนไฮกุ ช่วยให้นักเรียนหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทางโครงสร้างภาษา และเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาคำศัพท์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และสุนทรียศาสตร์ทางภาษาในด้านการเขียนย่อความเชิงพรรณนา
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/667
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59113762.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.