Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/658
Title: A study of Extension Guidelines for Geographical Indication for “Mae Jai Phayao Lychee” Production.
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา”
Authors: Narissara Kaviwong
นริสรา กาวิวงศ์
WASNA PITHAKPOL
วาสนา พิทักษ์พล
University of Phayao
WASNA PITHAKPOL
วาสนา พิทักษ์พล
wasna.pi@up.ac.th
wasna.pi@up.ac.th
Keywords: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลิ้นจี่ พะเยา
Geographical Indication (GI) Lychee Phayao
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research were 1) to study basic information, opinions and needs to promote the development of lychee quality to the GI standard 2) to study knowledge level of lychee growers before and after attending training 3) quality assessment of “Mae Jai Phayao Lychee” based on GI standards and 4) finding to extension guidelines for GI “Mae Jai Phayao Lychee” production. Research was conducted during 2021-2022 using a mixed-method design. The quantitative research was conducted using an interview schedule with 155 lychee growers that were obtained by Taro Yamane’s formula and simple random sampling method by drawing lots proportionally. The qualitative research was conducted with 15 key persons obtained by purposive sampling and data were analyzed by using both descriptive statistics and inferential statistics is Paired Sample T-Test, SWOT analysis and TOWS Matrix method. Results revealed that 1) 78.7% of lychee growers were male with the average age of 60.59 years, 65.2% completed primary education, 96.1% occupation as farmers, and the average 28.41 years of experience in lychee production. The average lychee production area were 6.55 rai/person, 44.5% production area were low land, 44.5% use water from reservoirs to produce lychees. The average income from lychee production were 32,683.87 baht/year. 50.3% of lychee growers had never heard or received information about GI, 44% had heard or received information about GI from training/government sector, and 66.5% had never been trained in lychee production management. Most lychee growers agree that GI will make local reputation and attract tourists. Lychee growers want to promote the water management, improvement and development water resources. 2) After attending the training education forum, it was found that the lychee growers had GI knowledge at a higher level (x̄ = 13.69) than before participating (x̄ = 9.97) and had statistically significant differences (p≤0.05). 3) Sixteen lychee growers have passed the lychee yield quality assessment in accordance with the requirements of GI “Mae Jai Phayao Lychee”. 4) The extension guidelines for GI  “Mae Jai Phayao Lychee” production, namely: Attacking strategy (SO) is develop and create a distinctive point for GI products "Lychee Mae Jai Phayao"., Preventive strategy (ST) is promote GI products on various platforms., Solution strategy (WO) is knowledge development for lychee growers about the quality lychee production system according to the GI product standard "Lychee Mae Jai Phayao" and Reacting strategy (WT) is a study of consumer demand in order to know the market direction and trend of GI products demand.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน, ความคิดเห็นและความต้องการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพลิ้นจี่สู่มาตรฐาน GI 2) ศึกษาระดับความรู้และเปรียบเทียบระดับความรู้ ก่อน-หลังเข้าร่วมการฝึกอบรมฯ 3) ประเมินคุณภาพผลผลิตลิ้นจี่ของผู้ปลูกลิ้นจี่ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ ตามมาตรฐาน GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” 4) หาแนวทางการส่งเสริมการผลิต สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” เก็บรวบรวมข้อมูล พ.ศ. 2564-2565 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปลูกลิ้นจี่กลุ่มแปลงใหญ่ อ.แม่ใจ  จ.พะเยา จำนวน 155 ราย ซึ่งได้จากการคำนวณด้วยใช้สูตร Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลากตามสัดส่วน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา, สถิติเชิงอนุมาน คือ T-Test , SWOT และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปลูกลิ้นจี่เป็นเพศชาย (78.7%) มีอายุเฉลี่ย 60.59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (65.2%) ประกอบอาชีพเกษตรกร (96.1%) มีประสบการณ์ในการปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 28.41 ปี มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 6.55 ไร่ โดยลักษณะพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่เป็นที่ราบ (44.5%) ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำในการผลิตลิ้นจี่ (44.5%) มีรายได้จากการผลิตลิ้นจี่ เฉลี่ย 32,683.87 บาท/ปี ส่วนมากไม่เคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (50.3%) โดยที่เคยได้ยินหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” มาจากการอบรม/ข้อมูลจากหน่วยงานราชการ (44.5%) และไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับ มาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (66.5%) ผู้ปลูกลิ้นจี่เห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้ท้องถิ่นรวมถึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้และมีความต้องการการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งต้องการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ 2) ผู้ปลูกลิ้นจี่มีระดับความรู้ หลังการเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบการควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” (x̄ = 13.69) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอบรม (x̄ = 9.97) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.05) 3) ผู้ปลูกลิ้นจี่ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวน 16 ราย ผ่านการประเมินคุณภาพผลผลิตลิ้นจี่ตามข้อกำหนดสินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” 4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุกคือ พัฒนาและสร้างจุดเด่นให้สินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” และส่งเสริมให้ผู้ปลูกลิ้นจี่ขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI กลยุทธ์เชิงป้องกันคือ การประชาสัมพันธ์สินค้า GI ใน Platform ต่าง ๆ กลยุทธ์เชิงแก้ไขคือ พัฒนาให้ผู้ปลูกลิ้นจี่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตลิ้นจี่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน สินค้า GI “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” และกลยุทธ์เชิงรับคือ การศึกษาความต้องการผู้บริโภคเพื่อให้ทราบทิศทางของตลาดและแนวโน้มความต้องการสินค้า GI
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/658
Appears in Collections:School of Agriculture and Natural Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011090.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.