Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/625
Title: DISCOURSE OF THE AGRICULTURAL GUEST SPEAKERS IN PHRAE PROVINCE
สัมพันธสารของวิทยากรการเกษตรในจังหวัดแพร่ 
Authors: Praphaiphan Kewkasem
ประไพพรรณ กิ้วเกษม
Warawat Sriyabhaya
วรวรรธน์ ศรียาภัย
University of Phayao. School of Liberal Arts
Keywords: สัมพันธสาร
ชุดความคิด
กลวิธีทางภาษา
วิทยากรการเกษตร
ระบบเกษตร
Discours
The Set of Ideas
Linguistic Strategies
Agricultural Guest Speakers
Agricultural System
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to analyze the set of ideas and linguistic strategies used in communication that presented in the discourse of agricultural guest speakers in Phrae Province. The data used in the analysis included 2 sets of discourse. The first set was spoken discourse recorded from the interviews, lectures in the training and study visit at the agricultural learning center.  The spoken discourse data were collected in the field study at Phrae Province from May 2021 to September 2022. Purposing sampling was used to select 25 key informants that comprised of 13 academic agricultural guest speakers, and 12 agricultural guest speakers.  25 interviews, and 35 lectures were collected in the study. The second set was written discourse derived from agricultural knowledge publication, public relations board, and printed document at the agricultural learning center, including online information posted on websites which the agricultural speakers used for providing agricultural knowledge. The results revealed the agricultural guest speakers had communicated through 4 major sets of ideas in agricultural discourse that included 1) a set of ideas concerning agricultural knowledge, 2) a set of ideas concerning attitudes towards farmers, 3) a set of ideas on agricultural ways of life, and 4) a set of ideas regarding agricultural factors. However, all sets of ideas reflected ideology, community agricultural practices, social practice, authority in developing agricultural network, and government policy that played important roles in presenting "Agricultural Ideals".   Regarding the study on linguistic strategies employed in agricultural discourse communication, the results revealed 6 major strategies; namely 1) the starting and ending, 2) topic and topic shift, 3) given information and new information, 4) cohesion, 5) discourse-pragmatic strategies and 6) rhetorical figures. Both academic agricultural guest speakers and agricultural guest speakers used similar linguistic strategies. However, each agricultural guest speaker employed his distinct language style. Moreover, it was found that these two groups of agricultural guest speakers showed different sequence of content presentation.  Academic agricultural guest speakers organized the content chronologically and precisely. They applied medias while presenting and set a schedule. They also used polite expressions and informal communication with farmers.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุดความคิดและกลวิธีทางภาษาที่สื่อสารจากสัมพันธสารของวิทยากรการเกษตรในจังหวัดแพร่ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลภาษาระดับสัมพันธสาร จำแนกเป็น 2 ชุด ชุดแรก คือ ตัวบทภาษาพูดจากการสัมภาษณ์ การบรรยายในการอบรมและศึกษาดูงาน ณ แปลงเกษตรและศูนย์เรียนรู้ โดยรวบรวมตัวบทภาษาพูดจากการศึกษาภาคสนามในพื้นที่จังหวัดแพร่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565 และคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยการสุ่มแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างวิทยากรการเกษตรกลุ่มนักวิชาการ จำนวน 13 คน และวิทยากรการเกษตรกลุ่มเกษตรกร จำนวน 12 คน รวมทั้งหมด จำนวน 25 คน รวบรวมตัวบทสัมภาษณ์และตัวบทบรรยายได้ จำนวน 35 ตัวบท และชุดที่สอง ตัวบทภาษาเขียนจากเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร รวบรวมจากป้ายประชาสัมพันธ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ ณ แปลงเกษตรและศูนย์เรียนรู้ และข้อมูลเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ที่วิทยากรการเกษตรใช้ประกอบการให้ความรู้แก่เกษตรกร ผลการวิจัย พบว่าวิทยาการการเกษตรได้สื่อสารชุดความคิดในสัมพันธสารการเกษตร จำนวน 4 ชุดความคิดหลัก ได้แก่ 1) ชุดความคิดด้านองค์ความรู้ทางการเกษตร 2) ชุดความคิดด้านทัศนะต่อเกษตรกร 3) ชุดความคิดด้านทัศนะต่อวิถีการเกษตร 4) ชุดความคิดด้านทัศนะต่อปัจจัยทางการเกษตร อย่างไรก็ดี ชุดความคิดดังกล่าวล้วนสะท้อนอุดมการณ์ วิถีชุมชนปฏิบัติการเกษตร วิถีปฏิบัติการทางสังคม อำนาจการพัฒนาชุมชนเครือข่ายการเกษตร และนโยบายภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการนําเสนอ “อุดมการณ์ทางการเกษตร” สำหรับผลการศึกษากลวิธีทางภาษาที่สื่อสารสัมพันธสารทางการเกษตรมีกลวิธีทางภาษาหลัก 6 กลวิธี ได้แก่ 1) การเริ่มต้นและการลงท้าย 2) การแสดงหัวเรื่องและการเปลี่ยนหัวเรื่อง 3) การแสดงเนื้อหาเก่าและเนื้อหาใหม่ 4) การเชื่อมโยงความ 5) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม และ 6) กลวิธีทางวาทศิลป์ โดยกลวิธีทางภาษาของวิทยากรการเกษตรกลุ่มนักวิชาการและวิทยากรการเกษตรกลุ่มเกษตรกรมีการใช้กลวิธีทางภาษาเหมือนกัน โดยลีลาการใช้ภาษาของวิทยากรการเกษตรแต่ละคนมีลีลาเฉพาะตน ในขณะที่วิทยากรการเกษตรสองกลุ่มนี้ มีกลวิธีทางภาษาที่แตกต่างกัน ในลักษณะการลำดับเนื้อหา โดยวิทยากรการเกษตรกลุ่มนักวิชาการจะลำดับเนื้อหาเป็นขั้นตอนชัดเจน เนื่องจาก มีการใช้สื่อในการนำเสนอข้อมูลและมีกำหนดการในการบรรยาย รวมทั้งมีมักใช้คำแสดงความสุภาพและเป็นกันเองกับเกษตรกร
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D. (Thai))
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด. (ภาษาไทย))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/625
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59114178.pdf24.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.