Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/621
Title: Guidelines to Promote Gastronomy Tourism Identity in Banglamung District, Chonburi Province
แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Authors: Soothitam Kingnarnsing
สุธีธรรม กิ่งนันท์สิงห์
Seri Wongmonta
เสรี วงษ์มณฑา
University of Phayao. College of Management
Keywords: อัตลักษณ์การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
จังหวัดชลบุรี
Tourism Identity
Chonburi Province
Gastronomy Tourism
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this research were 1) To study tourist behavior in Gastronomy Tourism identity in Chonburi province. 2) To study the affecting decision travel factors of Thai tourists who come to  food attractions in Bang Lamung district Chonburi province for propose guidelines to promoting Gastronomy Tourism identity in Chonburi Province 3) To study 7P's Marketing mix factors that tourists need to promote Gastronomy Tourism identity. This is a quantitative research collected questionnaire data of 420 tourists visiting Chonburi province. The questionnaire data had analyzed in descriptive statistics of frequency, percentage, mean and standard deviation. For hypotheses testing by using the inferential statistics Chi-square test, T-test, One-way Anova and the test will be done in pair with the Least Significant Difference (LSD) to determine statistical significance level at 0.05. The research result showed that 1) Tourists who traveled for Gastronomy Tourism identity Bang Lamung district Chonburi province most are Male, Age between 20-24 years old, Single status, Educational level were lower than bachelor's degree, Career's student and have monthly income was 10,001 - 15,000 baht per month 2) Factors affecting travel decisions of Thai tourists who come to Gastronomy Tourism attractions Bang Lamung District Chonburi Province in 3 factors was Attractions, Tourist Safety and Being known and Famous 3) the 7P's Marketing mix factors that affects the promotion of Gastronomy Tourism identity Bang Lamung District Chonburi Province in 3 factors was Staff (People), Service Process (Process), and Products (Product). And the researcher has designed a CITE Model to be used as a guideline to promote Gastronomy Tourism identity Bang Lamung District Chonburi Province is C (Competition) organizing the community cooking competition, I (Information) creating an online media for Community Tourism T (Teaching Class) organizing a local cooking class E (Exhibition) organizing an exhibition of local Food.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารแบบยั่งยืนในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P's) ที่นักท่องเที่ยวมีความต้องการในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test T-test One-way Anova และ วิธีการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 20-24 ปี สถานภาพโสดมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพนิสิต/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001 – 15,000 บาทต่อเดือน 2) ปัจจัยที่มีผลการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 3 ด้านได้แก่ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย และด้านการเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง 3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร (People) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) และด้านผลิตภัณฑ์ (Product) และทางผู้วิจัยได้ทำการออกแบบ CITE Model ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้แก่ C (Competition) การจัดการแข่งขันทำอาหารในชุมชน I (Information) การจัดทำสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการแนะนำการท่องเที่ยวชุมชน T (Teaching Class) การจัดกิจกรรมสอนประกอบอาหารท้องถิ่น E (Exhibition) การจัดนิทรรศการอาหารท้องถิ่น
Description: Master of Arts (M.A. (Tourism and Hotel Management))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/621
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62160320.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.