Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/617
Title: | Strategic Plan for Sustainable Integrated Creative Tourism Development in Suphan Buri Province, Thailand แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
Authors: | Jittraporn Therawat จิตราภรณ์ เถรวัตร Payom Dhamabutra พยอม ธรรมบุตร University of Phayao. College of Management |
Keywords: | แผนยุทธศาสตร์,การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์,จังหวัดสุพรรณบุรี strategic plan creative tourism suphanburi province |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aims to 1) investigate the potential of Suphanburi Province to develop integrated sustainable creative Tourism 2) create the strategic plan of integrated sustainable creative Tourism development in Suphanburi Province, Thailand 3) evaluate the implementation of the pilot project of the strategic plan in the province.
The research uses mixed research method with the qualitative research as the main research and the qualitative research as supporting research. Qualitative research tools are: community study checklists, Tourism Resource audit checklists and a structured in-depth interview and focus group form. Qualitative data are collected from 32 key belonging to public and private sectors, people and tourists in Suphanburi. Data are verified and analyzed with triangulation and content analysis while the qualitative research instrument is the questionnaire, data are collected from the four groups of 100 respondents belonging to the public and private sector as well as people and tourists visiting Suphanburi Province. The statistics used in this study are: percentage, mean and standard deviation
The findings reveal that 1) Suphanburi has splendid natural, cultural, economic and social tourism resource potential, an integrated sustainable Tourism management potential, participation to develop Tourism potential from the people in the province as well as the potential to raise environmental awareness and mind development for the community and the Tourists 2) The strategic plan of integrated sustainable creative tourism development in Suphanburi province focuses on the creation of the province's vision : 4 Branding Suphanburi as the unique and memorable destination in ASEAN, with 4 positions or 4 sub-brands : Brand No 1: Visit Suphan buri, trekking along the unspoiled natural Trail in Phu Toei National Park. Brand No 2: Visit Suphan buri, enjoying various activities to enhance local economy : participating in agro-food, music, sport and tradition events and festivals. Brand No 3: Visit Suphan buri experiencing multi-cultural and ethnic way of life living together in peace. Brand No 4: Visit Suphan buri, studying this sites of memories of our humanity since 3500-4000 years ago, learning about art and culture from prehistoric to the present Suphanburi. 3) The evaluation of the pilot project of the strategic plan of tourism development in Suphanburi at Bang Mae Mai Community reveals that the tourists visiting this area are fully satisfied with their trip. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย 2) เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการนำร่องของแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ณ พื้นที่กรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว สัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว กลุ่มละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) จังหวัดสุพรรณบุรี มีศักยภาพด้านการมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่โดดเด่นด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม มีศักยภาพด้านการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน มีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากประชากรในจังหวัด และศักยภาพด้านการสร้างกิจกรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาด้านจิตใจ สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว 2) แผนยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดสุพรรณบุรี จะให้ความสำคัญกับการสร้างวิสัยทัศน์ของจังหวัด ในรูปของการสร้าง “แบรนด์ท่องเที่ยวสุพรรณบุรี จุดหมายปลายทางที่โดดเด่นและไม่รู้ลืมแห่งอาเซียน” โดยมีตำแหน่งทางการตลาด 4 ด้าน คือ แบรนด์ที่ 1 เยือนสุพรรณบุรี เดินป่าบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อุทยานแห่งชาติพุเตย แบรนด์ที่ 2 “เยือนสุพรรณบุรี ร่วมสนุกกับกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เข้าร่วมมหกรรม Event ด้านอาหารเกษตรดนตรี กีฬา และประเพณี แบรนด์ที่ 3 เที่ยวสุพรรณบุรี สัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนจากพหุวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แบรนด์ที่ 4 เที่ยวสุพรรณบุรี ศึกษาสถานที่แห่งความทรงจำของมนุษยชาติ อายุ 3,500-4,000 ปี เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสุพรรณบุรียุคปัจจุบัน 3) การประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์มาปฏิบัติการในโครงการนำร่องที่บ้านบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวที่บางแม่หม้าย มีความพอใจกับการท่องเที่ยว |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D. (Tourism and Hotel Management)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด. (การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/617 |
Appears in Collections: | School of Management and Information Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60160014.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.